BANNER


ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน




การรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ของประเทศอินโดนีเซีย

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทสำคัญในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID – ๑๙  ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับประเทศอินโดนีเซียคือจำนวนองค์กรธุรกิจของชาวอินโดนีเซียได้นำเทคโนโลยีลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) มาใช้เพิ่มมากขึ้นในช่วงการแพร่ระบาด บริษัทผู้ให้บริการ e-Signature ในกรุงจาการ์ตา อาทิ Digisign และ PrivyID มีมูลค่ากิจการเติบโตเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและใช้มาตรการจำกัดการเดินทาง  บทความนี้ จึงขอกล่าวถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์และสถานการณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการจัดทำลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ของประเทศอินโดนีเซีย
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> การรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ของประเทศอินโดนีเซีย


ธุรกิจของวิสาหกิจเริ่มต้น (Startups) ของเวียดนาม

ปัจจุบัน เราเห็นได้ถึงการเติบโตทางการค้า การท่องเที่ยว และการลงทุนที่คึกคักในเวียดนาม โดยเฉพาะวงการธุรกิจ Startup  ที่ขณะนี้ เวียดนามมีบริษัท Startup ระดับ unicorn หรือธุรกิจที่มีมูลค่าการลงทุนมากกว่า ๑ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เกิดขึ้นแล้วแห่งแรก กรณีที่น่าสนใจเกี่ยวกับอาเซียนคือ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ เวียดนามในฐานะประธานอาเซียนได้ผลักดันการสร้างเครือข่ายธุรกิจ Startups อาเซียน (ASEAN Start-up Network) โดยจะเชื่อมโยงธุรกิจ Startup ในภูมิภาค โดยขอรับการสนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายจากประเทศสมาชิกเพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมทางดิจิตอล สร้างนวัตกรรมในภูมิภาค ส่งเสริมผู้ประกอบการ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประชาคมอาเซียน  บทความนี้ จึงขอนำเสนอการเติบโตและประเด็นที่น่าสนใจของธุรกิจ Startup ในเวียดนาม 
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ >> ธุรกิจของวิสาหกิจเริ่มต้น (Startups) ของเวียดนาม


การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ของฟิลิปปินส์

ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๐๔ เป็นต้นมา ธนาคารโลก หรือ World Bank จัดทำรายงานประจำปีเพื่อจัดลำดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ของประเทศและเขตการปกครอง ที่ขณะนี้มีจำนวนมากกว่า ๑๙๐ แห่งทั่วโลก สำหรับในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ฟิลิปปินส์อยู่ในลำดับรั้งท้าย คือลำดับที่ ๑๒๔  ซึ่งรายงานระบุว่ากฎระเบียบของฟิลิปปินส์บางส่วนยังไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)   ต่อมารายงาน Doing Business ฉบับปี พ.ศ.๒๕๖๓ ฟิลิปปินส์กลับขึ้นมาเป็นประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นแบบก้าวกระโดด โดยอยู่ในลำดับที่ ๙๕ ขึ้นมาจากปีก่อนถึง ๒๙ ลำดับ รายงานระบุว่าฟิลิปปินส์มีการพัฒนาใน ๓ ด้านด้วยกัน คือ ๑. การเริ่มต้นธุรกิจ (starting a business)  ๒.การขอใบอนุญาตก่อสร้าง (dealing with construction permits)  และ ๓.การคุ้มครองนักลงทุนรายย่อย (protecting minority investors) บทความนี้จึงจะขอนำเสนอการผ่อนคลายกฎระเบียบและการดำเนินนโยบายที่สนับสนุนการประกอบธุรกิจของฟิลิปปินส์ อาทิ การประกาศใช้กฎหมาย Ease of Doing Business and Efficient Government Service Delivery Act หรือ RA 11032 ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑  การแก้ไขกฎหมาย Corporation Code และการออกกฎหมายส่งเสริมการประกอบธุรกิจของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของฟิลิปปินส์ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒


กฎหมายทรัพยากรน้ำฉบับใหม่ของประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซียมีลักษณะเป็นหมู่เกาะจำนวนมากในแง่ของการอยู่อาศัย แม้มีเกาะจำนวนมากแต่พบว่าประชากรกว่าร้อยละ ๖๐ ของประชากรทั้งหมด อาศัยอยู่ในตัวเมืองซึ่งมีพื้นที่น้อยกว่าร้อยละ ๗ ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ ทำให้เกิดความหนาแน่นและแออัดของประชากร ซึ่งสร้างมลภาวะและก่อของเสีย รวมถึงทำลายสิ่งแวดล้อม ผลการสำรวจของกระทรวงสิ่งแวดล้อมอินโดนีเซีย พบว่าปี พ.ศ. ๒๕๕๐ อินโดนีเซียเผชิญกับปัญหามลภาวะและการทำลายสิ่งแวดล้อม และพบว่าแม่น้ำสายสำคัญของอินโดนีเซียเป็นน้ำปนเปื้อนที่ไม่สามารถดื่มได้และมีปัญหาการกระจายน้ำที่ไม่เท่าเทียม ไม่ทั่วถึง พบการใช้ประโยชน์จากน้ำมากเกินในบางพื้นที่ทำให้ประชาชนขาดน้ำสะอาดสำหรับการอุปโภคบริโภค  อีกทั้งมีปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นจำนวนมากทำให้อินโดนีเซียจำเป็นต้องจัดการขยะและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างแข็งขันและเป็นระบบ ปัจจุบันอินโดนีเซียมีกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญหลายฉบับ อาทิ รัฐบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองและการจัดการสิ่งแวดล้อม (Law No. 32 of 2009) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ครอบคลุมเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมหลายมิติ รัฐบัญญัติว่าด้วยป่าไม้ (Law No. 41 of 1999) รัฐบัญญัติว่าด้วยการบริหารจัดการขยะ (Law No. 18 of 2008) รัฐบัญญัติว่าด้วยการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ (Law No. 5 of 1990) และล่าสุดเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ รัฐสภาอินโดนีเซียได้ผ่านร่างกฎหมายทรัพยากรน้ำฉบับใหม่ (The Water Resources Bill) ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการประกาศใช้ โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจหลายประการดังที่จะกล่าวถึงในบทความนีี้
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ >> กฎหมายทรัพยากรน้ำฉบับใหม่ของประเทศอินโดนีเซีย


ธุรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ในเวียดนาม

ประเทศเวียดนามมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ ๗.๐๘ ในปี ๒๕๖๑ สูงที่สุดในรอบ ๑๑ ปี เป็นตลาดที่เป็นที่สนใจของนักลงทุน ปัจจุบันเวียดนามมีเงินทุนจากต่างประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน เข้ามาลงทุนในภาคการผลิตกว่าร้อยละ ๙๐ ทำให้เวียดนามกลายเป็นส่วนสำคัญในห่วงอุปทานสินค้าของโลก (Global Supply Chain) ทั้งสินค้า Smartphone และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และธุรกิจ E-Commerce ในเวียดนามกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (Ministry of Industry and Trade – MOIT) รายงานว่าเวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการชำระเงินแบบ ไร้เงินสดเติบโตประมาณร้อยละ ๓๕ ต่อปี และคาดว่าไปจนถึงปี ๒๕๖๓ ธุรกิจ E-Commerce ในเวียดนามจะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ ๒๐ ต่อปี และจะมีรายได้จากธุรกิจ E-Commerce มูลค่าสูงกว่า ๑๐ พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ๒๕๖๓ อีกทั้ง ขณะนี้ การชำระเงินออนไลน์ (e-wallet) ในเวียดนามยังเป็นหนึ่งในประเภทการบริการที่กำลังแข่งขันอย่างเข้มข้นระหว่างผู้ให้บริการหลายราย อาทิ AirPay Moca Payoo WePay Zalopay ViettelPay และ Momo ซึ่งจะสร้างประสบการณ์การซื้อขายสินค้าออนไลน์และอำนวยความสะดวกด้านการชำระเงินให้แก่คนเวียดนาม การเติบโตทางเศรษฐกิจและตลาด E-Commerce ของเวียดนาม มีประเด็นน่าสนใจให้หยิบยกกล่าวถึงในบทความนี้หลายประการ



อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ ธุรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ในเวียดนาม


การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและขนาดย่อยในอาเซียน

ปัจจุบันการประกอบธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและขนาดย่อย หรือ MSME (Micro, Small and Medium Enterprise) เป็นส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม ประเทศสมาชิกอาเซียนมีกลุ่มธุรกิจ MSMEs เกิดขึ้นและกระจายตัวอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นเรื่องที่ประเทศสมาชิกอาเซียนให้ความสำคัญและพยายามผลักดันอย่างต่อเนื่อง เมื่อต้นเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒  อาเซียนได้มีการจัดการประชุมในหัวข้อ “ASEAN MSMEs in the Digital Era: Challenges and Opportunities” เป็นเวทีสำคัญ ให้หน่วยงานในประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศคู่เจรจา ภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาสังคม ได้แลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการ MSMEs ในภูมิภาคอาเซียน ที่กำลังเผชิญกับยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ ๔ (4IR) รวมถึงการหารือแนะแนวทางกำหนดนโยบายสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้อต่อผู้ประกอบการรายย่อย การสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐ และเอกชนที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีความเข้มแข็งมากขึ้น  สร้างการตระหนักรู้ในประเด็นที่เป็นอุปสรรคของผู้ประกอบการ MSMEs ในการเข้าถึงตลาดและการเงินจากแหล่งเงินทุนผ่านสถาบันทางการเงิน การใช้ดิจิทัลในการออกสู่ตลาดต่างประเทศ รวมถึงแนวทางสำหรับภาครัฐในการใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนช่วย ในการบริหารจัดการระบบต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
หมายเหตุ - บทความฉบับเต็มอยู่ระหว่างตรวจสอบ


การแก้ไขกฎหมายเครื่องหมายการค้าของมาเลเซียและการเข้าเป็นภาคีพิธีสารมาดริด

เครื่องหมายการค้าเป็นหัวใจหลักของความน่าเชื่อถือต่อสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบการของประเทศสมาชิกที่จะมีผลให้สามารถขยายตลาดเติบโตได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศและมีผลต่อการขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในอาเซียน ปัจจุบันระบบการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าของประเทศสมาชิกอาเซียนยังมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะมุมมองด้านการคุ้มครองประเภทของเครื่องหมายการค้าที่แตกต่างจากเดิม เช่น เครื่องหมายการค้าเสียง กลิ่น ภาพสามมิติ ระบบศุลกากรที่ดีที่ทำหน้าที่ยับยั้งการนำเข้าสินค้าที่ละเมิดเครื่องหมายการค้า และระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายที่จากเดิมผู้ประกอบการต้องจดทะเบียนขอรับการคุ้มครองเป็นรายประเทศ ซึ่งปัจจุบัน อาเซียนอยู่ระหว่างดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน ปี ๒๕๕๙ - ๒๕๖๘   ครอบคลุมประเด็นสำคัญเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าประการหนึ่ง คือ การเข้าเป็นภาคีความตกลงระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาระบบการรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาหรือพิธีสารมาดริด ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ และเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ มาเลเซียเป็นประเทศล่าสุดที่ได้ยื่นขอเข้าร่วมเป็นภาคีพิธีสารมาดริดต่อองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในมาเลเซียตั้งแต่วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ทำให้ขณะนี้เหลือเพียงเมียนมาประเทศเดียวในอาเซียนที่ยังไม่เข้าเป็นภาคีพิธีสารมาดริดและก่อนหน้าที่มาเลเซียจะยื่นขอเข้าเป็นภาคีพิธีสารฯ มาเลเซียได้ผ่านร่างกฎหมายเครื่องหมายการค้าฉบับใหม่ เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ จึงเป็นที่น่าสนใจว่าการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวมีประเด็นเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างไร ดังที่จะกล่าวถึงในตอนต่อไปของบทความนี้
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ การแก้ไขกฎหมายเครื่องหมายการค้าและการเข้าเป็นภาคีพิธีสารมาดริดของมาเลเซีย


เมืองอัจฉริยะอาเซียน (ASEAN Smart Cities)

แม้การขยายตัวของความเป็นเมือง (Urbanization) จะเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาค แต่ในขณะเดียวกันก็นำมาซึ่งความท้าทายในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะปัญหาความแออัด ปัญหามลพิษปัญหาการขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานและความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม ประเทศสมาชิกอาเซียนจึงได้มีการผลักดันแนวคิดการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะ (Smart Technologies) มาใช้ในแก้ไขปัญหาและสร้างความยั่งยืนให้กับเมืองในอาเซียน สะท้อนให้เห็นการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๓๒ (32nd ASEAN Summit) ในแนวคิดการเป็นประชาคมที่มีความเข้มแข็งและนวัตกรรม (Resilient and Innovative) โดยมีสิงคโปร์เป็นผู้นำในการผลักดันแนวคิดดังกล่าว ทั้งยังมีการจัดตั้งเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน (ASEAN Smart Cities Network: ASCN) อันเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อพัฒนาเมืองในอาเซียนสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะที่มีความยั่งยืน บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอข้อมูลความร่วมมือของอาเซียนในด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและพัฒนาต่อไป

ปรับปรุงเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒


การส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินของอาเซียน

อุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศเป็นอุตสาหกรรมบริการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนระหว่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการขนส่งผู้โดยสารหรือการบิน ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นด้านการท่องเที่ยวของประเทศและภูมิภาค ทั้งยังเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการสร้างรายได้ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก


เอกสารสรุปผลการประชุมใหญ่สมาคมกฎหมายอาเซียน ครั้งที่ ๑๓ (13th ASEAN Law Association General Assembly)

การประชุมใหญ่สมาคมกฎหมายอาเซียน ครั้งที่ ๑๓ (13th ASEAN Law Association General Assembly) ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์
ระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๑
 


ระบบคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสิงคโปร์

           บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอระบบคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของสิงคโปร์โดยจะกล่าวถึงการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade – Related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPS) เนื่องจากความตกลงดังกล่าวเป็นความตกลงที่ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาไว้อย่างครอบคลุมและเป็นสากลจึงทำให้เป็นความตกลงที่มีความก้าวหน้าและสำคัญอย่างยิ่งต่อการค้าระหว่างประเทศ


ความร่วมมืออาเซียนด้านทรัพย์สินทางปัญญา

                ยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้ในแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นเพียงกรอบการดำเนินงานอย่างกว้างให้ประเทศสมาชิกนำไปปฏิบัติ ซึ่งการสร้างความร่วมมือในด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมผ่านโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอภาพรวมของความร่วมมืออาเซียนในด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาและวิเคราะห์เชิงลึกต่อไป


การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ ๔: บทวิเคราะห์นัยสำคัญต่อความร่วมมือของอาเซียน

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ ๔ และนัยสำคัญทางเศรษฐกิจและกฎหมายต่ออาเซียน


ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี

                   บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการที่มิใช่ภาษี (NTMs) และมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) ตลอดจนนัยสำคัญของการใช้มาตรการดังกล่าวที่ส่งผลกระทบต่อการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาวิจัยอย่างละเอียดต่อไป 


จาก Pivot to Asia สู่ America First นัยสำคัญต่อภูมิภาคเอเชียและอาเซียน : กรณีสหรัฐฯ ถอนตัวออกจากความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans - Pacific Partnership: TPP)

                 บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่ออภิปรายการดำเนินนโยบายหรือยุทธศาสตร์ทางการค้าของสหรัฐฯ ต่อภูมิภาคเอเชียและอาเซียน โดยจะแสดงให้เห็นถึงความพยายามของสหรัฐฯ ในการผลักดันข้อตกลง TPP ในสมัยของโอบามาและนัยสำคัญต่อภูมิภาคเอเชียและอาเซียน รวมถึงนัยสำคัญอื่นที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการที่สหรัฐฯ ประกาศถอนตัวออกจากความตกลง TPP


กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศสิงคโปร์และไทย

                ประเทศสิงคโปร์และไทยเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนที่อยู่ภายใต้แผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์อาเซียนด้านการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๘ (The ASEAN Strategic Plan in Consumer Protection 2016 – 2025: ASAPCP) อันเป็นความร่วมมือสำคัญที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องและรักษาสิทธิของผู้บริโภคในอาเซียน รวมถึงเป็นกรอบที่กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายและนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และแม้ว่าทั้งสองประเทศจะมีความแตกต่างในด้านของจำนวนประชากรที่เป็นผู้บริโภคในระบบเศรษฐกิจ  ถึงกระนั้นทั้งสองประเทศก็ได้ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นอย่างยิ่ง โดยมีบังคับใช้กฎหมายและข้อบังคับเพื่อกำหนดความรับผิดขององค์กรธุรกิจมิให้เกิดการแข่งขันทางการค้าและการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคจนทำให้ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อสินค้าและใช้บริการ ตลอดจนมีบทบาทในการกำหนดแนวทางในการแก้ไขและเยียวหาความเสียหายของผู้บริโภคอันเกิดจากการได้รับสินค้าและบริการที่ไม่ได้คุณภาพ
               บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอข้อมูลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศสิงคโปร์และไทยในฐานะที่เป็นประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อใช้เป็นกรณีศึกษาเปรียบเทียบกับระบบการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ต่อไป


โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub – region: GMS): บทวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับอาเซียนและนัยสำคัญอื่น

               โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub – region: GMS) เป็นหนึ่งในโครงการที่ทำให้เห็นถึงการปรับตัวของเหล่าประเทศต่าง ๆ เพื่อให้เข้ากับบริบทข้างต้น แม้โครงการ GMS จะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับแม่น้ำโขงโดยตรง หากแต่เป็นความร่วมมือที่ใช้แม่น้ำโขงเป็นจุดศูนย์กลางในการประสานความร่วมมือของ ๖ ประเทศที่มีพรมแดนติดกับแม่น้ำโขง  อย่างไรก็ดี ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวประกอบด้วยประเทศที่เป็นสมาชิกอาเซียนอยู่ถึง ๕ ประเทศ จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าความร่วมมือนี้จะส่งผลกับอาเซียนในแง่มุมใดบ้าง  นอกจากนี้ ในแง่บทบาทของประเทศมหาอำนาจในเอเชียโดยเฉพาะประเทศจีนและญี่ปุ่นในความร่วมมือ GMS นั้นจะเห็นได้ว่าบทบาทของสองประเทศดังกล่าวได้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเป็นที่มาของการศึกษาโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยบทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอภาพรวมของโครงการ GMS และบทวิเคราะห์ความร่วมมือผ่านตัวแสดงสำคัญ ซึ่งจะเป็นการอภิปรายในลักษณะของความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างตัวแสดงภายใต้ความร่วมมือ รวมถึงนัยสำคัญอื่น ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยในเชิงลึกต่อไปในอนาคต

 


นัยสำคัญของความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับจีนภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี อาเซียน - จีน (ASEAN China Free Trade Agreement: ACFTA)

               ข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน – จีนถือได้ว่าเป็นข้อตกลงฉบับแรกที่อาเซียนได้จัดทำร่วมกับประเทศภายนอกภูมิภาค อีกทั้งยังเป็นข้อตกลงที่มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีพ.ศ. ๒๕๖๑ มีการคาดการณ์ว่าอาเซียนและจีนจะก้าวไปสู่การลดภาษีสินค้าได้อย่างเต็มรูปแบบนับเป็นสัญญาณที่ดีที่จะทำให้มูลค่าทางการค้าเพิ่มมากขึ้น และนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจสำหรับประเทศจีนและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ทว่า ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่ายที่กำลังดำเนินไปได้อย่างดียิ่งนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้อาเซียนและจีนได้รับผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจเท่านั้น หากแต่ยังมีนัยสำคัญในมิติอื่นให้ศึกษา บทความนี้จึงมุ่งนำเสนอประเด็นสำคัญในแง่ของระบบระหว่างประเทศภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน – จีนเพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาและวิเคราะห์ในเชิงลึกต่อไป


อาเซียนกับความร่วมมือด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

               บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความสำคัญและสิทธิของของผู้บริโภคในภาพรวม ตลอดจนการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในเรื่องของนโยบายและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคผ่านแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์อาเซียนด้านการคุ้มครองผู้บริโภค (The ASEAN Strategic Plan in Consumer Protection: ASAPCP) เพื่อแสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานของอาเซียนในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและแสดงให้เห็นถึงความเป็นประชาคมที่มีพัฒนาการและศักยภาพในการตอบสนองต่อประเด็นท้าทายในรูปแบบใหม่ภายใต้บริบททางเศรษฐกิจในศตวรรษที่ ๒๑


ความร่วมมือด้านการเงินภายใต้กรอบของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (ASEAN)

บทความนี้จะกล่าวถึงความเป็นมาและองค์ประกอบต่าง ๆ ของความร่วมมือด้านการเงินในอาเซียน


กฎหมายทางการเงินของประเทศสิงคโปร์

บทความนี้จะกล่าวถึงระบบการธนาคารและข้อบังคับต่าง ๆ รวมทั้งแนวทางการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ของประเทศสิงคโปร์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถศึกษา แนวทางการกำหนดกฎระเบียบเกี่ยวกับบริการทางการเงินลากแนวทางของประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้นำทางการเงินในเอเชีย 


พิธีสารของกฎบัตรอาเซียนว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาท

ประเทศสมาชิกอาเซียนได้พัฒนากลไกระงับข้อพิพาทขึ้นมาหลายกลไก จนมาถึงการจัดทำกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ และเปรียบเสมือนธรรมนูญที่วางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างขององค์กร โดยกฎบัตรอาเซียนนั้นมีบทบัญญัติว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาท ในหมวดที่ ๘ ว่าด้วยการระงับข้อพิพาท (Settlement of Disputes) โดยได้กำหนดให้มีการระงับข้อพิพาทตามพิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียน[๑] อย่างไรก็ตาม  ตราบจนถึงปัจจุบันข้อพิพาทที่เข้าสู่กลไกการระงับข้อพิพาทค่อนข้างน้อย ทำให้ผู้เขียนสนใจศึกษาความเป็นมา สาระสำคัญ รายละเอียดของพิธีสารฯ และปัญหาเรื่องการใช้บังคับตามพิธีสารดังกล่าวในบทความนี้


แนวโน้มของกฎหมายกับปัญญาประดิษฐ์ในอาเซียน

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence - AI) คือเทคโนโลยีที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลคล้าย ๆ มนุษย์ ซึ่งในปัจจุบัน AI ได้เข้ามามีอิทธิพลในธุรกิจของอาเซียนมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการลดภาระค่าจ้างแรงงานลง หากเปรียบเทียบกับจีนและสหรัฐอเมริกาแล้ว อาเซียนยังตามหลังในเทคโนโลยีด้าน AI อยู่ แต่หากเปรียบเทียบระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกันแล้ว สิงคโปร์นับเป็นประเทศที่มีการนำ AI มาใช้ในธุรกิจมากที่สุด โดยคาดว่าในปี พ.ศ. ๒๕๗๓ AI จะเข้ามาครองตลาดอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมในอาเซียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจึงจำเป็นต้องตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ปัญหาการละเมิดสิทธิของบุคคล ซึ่งทำให้ต้องพิจารณาว่ากฎหมายจะเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างไร


กฎหมายที่ควรรู้ก่อนลงทุนใน CLMV : สปป. ลาว

กลุ่มประเทศ CLMV ติดอันดับอยู่ในกลุ่ม ๑๕ ประเทศที่จะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในโลกในอีก ๑๐ ปีข้างหน้า และยังมีอัตราการเจริญเติบโตของ GDP สูงเนื่องจากเป็นตลาดเกิดใหม่ ประเทศในกลุ่มนี้ที่นำเข้าสินค้าจากไทยมากที่สุดคือเวียดนาม กัมพูชา เมียนมา และ สปป.ลาวโดยในบทความนี้จะกล่าวถึงกฎหมายที่ควรรู้ก่อนการลงทุนใน สปป.ลาว


กฎหมายที่ควรรู้ก่อนการลงทุนใน CLMV : เมียนมา

กลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่ไทยควรให้ความสนใจเป็นพิเศษคือกลุ่มเพื่อนบ้านของไทยหรือ กลุ่ม CLMV ซึ่งประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เนื่องจากประเทศเหล่านี้ยังมีช่องทางและโอกาสในการทำธุรกิจและการลงทุนได้ในหลายสาขาโดยในบทความนี้จะเริ่มต้นกล่าวถึงกฎหมายที่ควรรู้ก่อนการลงทุนในเมียนมาเป็นประเทศแรก 


กฎหมายที่ควรรู้ก่อนลงทุนใน CLMV : เวียดนาม

ในภูมิภาคอาเซียน ถ้าแบ่งเป็นกลุ่มย่อยแล้ว กลุ่มที่ไทยให้ความสนใจเป็นพิเศษคือกลุ่มเพื่อนบ้านของไทย หรือ กลุ่ม CLMV ซึ่งประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม โดยไทยมองว่าเป็นโอกาส
ของการทำธุรกิจและลงทุนในหลากหลายด้าน 


กฎหมายที่ควรรู้ก่อนการลงทุนใน CLMV : กัมพูชา

โครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจระหว่างไทยและกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนามมีการพึ่งพาซึ่งกันและกันมากขึ้น เนื่องจากสินค้าไทยเป็นที่ต้องการในกลุ่มประเทศดังกล่าว ทำให้การส่งออกสินค้าไปยังกลุ่ม CLMV เติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ไทยต้องการแรงงานและแหล่งทรัพยากรธรรมชาติจาก CLMV ประกอบกับการที่ CLMV ทุกประเทศมีพรมแดนติดกับไทยจึงทำให้ผู้ประกอบการไทยจำนวนมากสนใจที่จะเข้าไปลงทุนหรือหาลู่ทางในการประกอบธุรกิจ 


กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศสิงคโปร์

ระบบการศึกษาของประเทศสิงคโปร์จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในระบบการศึกษาที่ดีที่สุดของโลก จากการเปรียบเทียบคะแนนในโครงการเพื่อการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ PISA (Programme for International Student Assessment) ซึ่งได้จัดอันดับให้สิงคโปร์เป็นอันดับที่ ๑ ของ PISA ในด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน จากกว่า ๗๐ ประเทศทั่วโลกและเนื่องจากสิงคโปร์เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ระบบการศึกษาของสิงคโปร์จึงมีความคล้ายคลึงกับระบบการศึกษาของอังกฤษ


กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของอาเซียน (ตอนที่ ๒)

จากบทความครั้งก่อนที่ได้กล่าวถึงกฎหมายการแข่งขันทางการค้าในอาเซียนของประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้บังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ก่อนปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามข้อ ๔๑ ของแผนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงร่วมกันที่จะกำหนดนโยบายการแข่งขันทางการค้าภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ในฉบับนี้เราจะพิจารณาถึงภาพรวมและพัฒนาการของกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีกฎหมายใช้บังคับในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ และประเทศสมาชิกอาเซียนที่ยังไม่มีกฎหมายการแข่งขันทางการค้าต่อจากบทความในตอนที่ ๑


กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของอาเซียน

แผนงานเพื่อการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC Blueprint ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ กำหนดไว้ว่าประเทศสมาชิกอาเซียนต้องมีนโยบายหรือกฎหมายการแข่งขันทางการค้ามาใช้บังคับภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๘  อย่างไรก็ตาม มี ๕ ประเทศจาก ๑๐ ประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้าก่อนปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และ เวียดนาม และอีก ๔ ประเทศ ได้แก่ บรูไน ลาว เมียนมา และฟิลิปปินส์ ได้มีกฎหมายการแข่งขันทางการค้าในปี พ.ศ. ๒๕๕๘  มีประเทศกัมพูชาประเทศเดียวในอาเซียนที่ยังไม่มีกฎหมายการแข่งขันทางการค้า แต่ได้มีร่างกฎหมายการแข่งขันทางการค้าเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๙ 


การกำกับดูแลฟินเทคในสิงคโปร์

ฟินเทคเป็นนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีโดยใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ในการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ซึ่งทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินเป็นเรื่องง่าย ปัจจุบันฟินเทคเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพลิกโฉมไปสู่โลกไร้เงินสด ในแง่ของรัฐจะกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ในการใช้ฟินเทคอย่างไร ผู้เขียนจึงเขียนบทความเรื่องการกำกับดูแลฟินเทคของสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีทางการเงินในอาเซียนเพื่อศึกษาการกำกับดูแลฟินเทคโดยเน้นการให้บริการทางการเงินที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี


กฎหมายสถาบันการเงินฉบับใหม่ของเมียนมา

เมียนมาออกกฎหมายสถาบันการเงินใหม่ (New Financial Institution Law – NFIL) หลังจากที่หลายภาคส่วนรอคอยมานาน เนื่องจากได้ยกร่างกฎหมายดังกล่าวตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยนับตั้งแต่รัฐบาลพลเรือนได้เข้ามาบริหารประเทศก็ได้ให้ความสำคัญกับการปฏิรูประบบภาคธนาคารเนื่องจากกฎหมายปัจจุบันเกี่ยวกับระบบธนาคารนั้นล้าสมัย และยังมีช่องว่างทางกฎหมายหลายอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น เรื่องความโปร่งใส เนื้อหา และโครงสร้าง ในปัจจุบันระบบธนาคารพาณิชย์ในเมียนมายังไม่พัฒนาเท่าที่ควร แม้ว่าเศรษฐกิจของเมียนมากำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด เช่น สินเชื่อของภาคเอกชนมีการเติบโตร้อยละ ๕๐ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่เริ่มมีการเปิดประเทศภายใต้การปกครองของรัฐบาลกึ่งพลเรือน และมีเงินฝากในธนาคารคิดเป็น


ประเทศไทยจะกลายเป็นศูนย์กลางฟินเทคในอาเซียนได้อย่างไร

เมื่อนึกถึงประเทศไทยคนมักจะนึกถึงสิ่งพื้นฐานอันเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย เช่น วัฒนธรรมที่ประณีตงดงาม วัด พระพุทธรูป ชายหาดที่สวยงาม ช้างคู่บ้านคู่เมือง รวมถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวนับล้านให้เข้ามาในประเทศในแต่ละปี แต่ในอีกมุมหนึ่งสมาชิกของชุมชนฟินเทคในประเทศไทยกลับมองว่าประเทศไทยมีความพร้อมทางด้านทรัพยากรและมีศักยภาพในการพัฒนาฟินเทคสตาร์ทอัพ ไปสู่ระดับภูมิภาคและระดับโลกได้ จะเห็นได้จากการที่ประเทศไทยได้จัดงาน Startup Thailand 2016 ขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา งานดังกล่าวเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้สังคมหันมาสนใจในธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยได้มีการรวมตัวกันมากที่สุดเป็นครั้งแรกของสตาร์ทอัพกว่า ๑๘๐ รายและได้กลายเป็นงานสตาร์ทอัพที่มีจำนวนผู้เข้าร่วมงานกว่า ๓๖,๐๐๐ คน ซึ่งถือว่ามากที่สุดในเอเชีย ก่อให้เกิดเม็ดเงินลงทุนมูลค่าสูงถึง ๔,๐๐๐ ล้านบาท จึงเห็นได้ว่าแม้เอกลักษณ์ของความเป็นไทยกับเทคโนโลยีอย่างฟินเทคจะเป็นสิ่งที่คาดไม่ถึงว่าจะสามารถนำมารวมกันได้ แต่ก็ไม่ใช่อุปสรรคที่จะขวางกั้นที่จะทำไม่ให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางฟินเทคในอาเซียนทำมาก่อน


แนวโน้มของอูเบอร์ (Uber)ในการฝ่าฟันวิกฤตด้านกฎหมายในอาเซียน

ด้วยบริการอันเป็นเอกลักษณ์ทำให้อูเบอร์ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว อูเบอร์ได้ขยายกิจการในอาเซียนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยปัจจุบันได้ให้บริการใน ๓๘ เมืองในอาเซียนและกำลังขยายการให้บริการอย่างต่อเนื่อง แม้อูเบอร์จะได้รับความนิยมและมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่อูเบอร์กำลังเผชิญอุปสรรคครั้งใหญ่ เนื่องจากกฎหมายของหลายประเทศในแถบนี้ต่างไม่รองรับลักษณะการให้บริการของอูเบอร์  อย่างไรก็ดี บทความนี้จะกล่าวถึงประเทศสมาชิกอาเซียนที่ทั้งมีและไม่มีกฎหมายรองรับการให้บริการอูเบอร์เพื่อให้เห็นถึงเหตุผลความจำเป็นของแต่ละประเทศ
 
 


กฎเกณฑ์ควบคุมโดรน (UAVs) ในอาเซียน

ในปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยตอบสนองความต้องการและอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันแก่ผู้ใช้งาน ในบทความฉบับนี้จึงจะพูดถึง “โดรน” หรืออากาศยานขนาดเล็กไร้คนขับ ซึ่งมีข้อถกเถียงอยู่ว่าควรมีกฎเกณฑ์ควบคุมมากน้อยเพียงใด และประเทศใดมีกฎเกณฑ์ควบคุมบ้าง รวมไปถึงความคิดเบื้องหลังการออกกฎหมายควบคุมโดรนของแต่ละประเทศ


ระบบประกันสุขภาพและประกันสังคมของประเทศเวียดนาม

บทความนี้จะกล่าวถึงความพยายามของเวียดนามในการพัฒนาระบบประกันสังคมเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของงานและระบบประกันสุขภาพเพื่อที่จะให้การพัฒนาระยะยาวของเวียดนาม บทความจะกล่าวถึงวิวัฒนาการเพื่อให้เห็นภาพรวมของการพัฒนาประเทศเวียดนาม


50 ปีอาเซียน โอกาสและความท้าทายของกัมพูชา

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 อาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(the Association of Southeast Asian Nations ) จะมีอายุครบ 50 ปี
อาเซียนนั้นก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ณ กรุงเทพมหานคร โดยมีสมาชิกก่อตั้ง
ทั้งสิ้น 5ประเทศ  คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย โดยมีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
เพื่อพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยในภูมิภาค และเป็นเวทีเพื่อความร่วมมือและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคนิค การศึกษา และการปกครอง อีกทั้งยังยึดมั่นในการไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิก เน้นการเจรจาแก้ปัญหาอย่างสันติวิธีระหว่างกัน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่อาเซียนยึดมั่นมาเสมอ
ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา อาเซียนต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายพร้อมทั้งตักตวงความเจริญก้าวหน้า
ในภูมิภาคอาเซียน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงเวทีโลกไปในเวลากัน และในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง
กัมพูชา ซึ่งจะเป็นสมาชิกอาเซียนครบ 18 ปี ในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ ก็จำเป็นต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายหลายประการ พร้อมทั้งต้องพยายามเก็บเกี่ยวโอกาสที่อาเซียนมอบให้ บทความนี้จะมุ่งวิเคราะห์โอกาส
ความเป็นไปได้ และความท้าทายในประเด็นต่าง ๆ ที่กัมพูชาเผชิญทั้งในอดีตและอนาคต ในฐานะสมาชิก
ที่มีอาวุโสน้อยที่สุดในประชาคมอาเซียนนั่นเอง
 


โครงการ eWTP ความพยายามของ Alibaba ในการสนับสนุนการค้าเสรี

ประเทศจีนซึ่งแต่เดิมไม่ได้เป็นประเทศหลักในการสนับสนุนการค้าเสรีเริ่มที่จะมีบทบาทมากขึ้นรวมทั้งเอกชนในประเทศจีนอย่างกลุ่ม Alibaba นำโดย Jack Ma  เสนอโครงการ Electronic World Trade Platform บทความนี้จะกล่าวรูปแบบของโครงการและความคืบหน้าสำคัญของโครงการ eWTP


อูเบอร์บุกตลาดอาเซียน

หลังจากความพยายามที่ล้มเหลวในการเจาะตลาดประเทศจีน อูเบอร์จึงหันมามองเป้าหมายใหม่อย่างอาเซียน ซึ่งมีประชากรมากกว่า 600 ล้านคน อีกทั้งเศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงเติบโต รวมถึงการขยายตัวของผู้ใช้สมาร์ทโฟนอีกด้วย จึงเกิดคำถามว่า อูเบอร์จะสามารถแย่งชิงความเป็นผู้นำในตลาดที่มีการแข่งขันสูงนี้ได้หรือไม่?


แผนความเชื่อมโยงอาเซียน : อีกหนึ่งความท้าทายต่อการเป็นประชาคมที่มีบูรณาการอย่างแท้จริง

ในการที่สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ASEAN จะประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องให้ความสำคัญและส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างกันในภูมิภาค ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะนำไปสู่การลงทุนทั้งในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมอย่างทั่วถึงทั้งภูมิภาค ...


การส่งเสริม Start-up ของประเทศสมาชิกอาเซียน

​ในปี ๒๕๕๙ ที่ผ่านมาคำว่า Start-up เป็นคำยอดนิยมทั้งทางสื่อและนโยบายของรัฐบาลประเทศไทยต่างฝ่ายต่างจัดงานเสวนาเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนสนใจ Start-up ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีนิยามของคำว่า Startup อย่างเป็นทางการ แต่ในโลกธุรกิจเป็นที่ยอมรับกันว่าคำว่า Start-up นั้นหมายถึงธุรกิจที่เพิ่งเริ่มตั้งต้นและมีไอเดียที่จะแก้ไขปัญหาชีวิตประจำวันและที่สำคัญที่สุดคือมีการเจริญเติบโตที่มากกว่า SMEs ซึ่งการที่จะเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วนั้นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ส่งผลให้ส่วนใหญ่แล้ว Startup จะเป็นบริษัทที่อยู่ในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศหรือใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้เกิดการเติบโตเราสามารถเห็นได้จาก Startup ระดับโลกที่ได้เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทย เช่น Uber, AirBnb เป็นต้น ทั้งนี้ ปัจจุบัน Startup ระดับโลกส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากประเทศ สหรัฐอเมริกา จีน และเยอรมัน ส่วนในภูมิภาคอาเซียนนั้นยังไม่มี Startup ระดับโลกเกิดขึ้นจะมีก็เพียงแต่ Start-up ระดับภูมิภาค ดังนั้นบทความนี้จะอธิบายถึงความพยายามของภาครัฐและภาคเอกชนในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนที่จะส่งเสริมให้เกิด Start-up ในอาเซียน รวมถึงสภาพตลาดของแต่ประเทศสมาชิก รวมถึงแนวทางการพัฒนาในอนาคต


สงครามทางการค้า : กรณีศึกษาสหรัฐอเมริกา-สหภาพยุโรป (Chicken Tax)

การค้าระหว่างประเทศเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศโดยเฉพาะประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนที่พึงพาการส่งออกเป็นสำคัญ 


กลยุทธ์ขยายขอบเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่ออาเซียน


ในการที่จะคว้าโอกาสจากการลงทุนในประชาคมอาเซียนได้นั้น นักลงทุนจำเป็นต้องปรับนโยบายการดำเนินธุรกิจของตนให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินงานของอาเซียน นอกจากนั้นแล้ว กว่าร้อยละ 76 ของบริษัทในสหภาพยุโรป หรือ EU ต่างยืนยันว่าบริษัทมีนโยบายที่มุ่งเน้นไปที่การค้ากับอาเซียน และมีความเห็นว่าอาเซียนนั้นเป็นองค์การชัดเจนกับความต้องการของตนเอง และมีความสามารถที่จะกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับความต้องการของตนได้เป็นอย่างดี
เป็นที่น่าสนใจว่า บริษัทต่างชาติที่นอกอาเซียนจำนวนกว่าร้อยละ 81 มียุทธศาสตร์ภูมิภาค ซึ่งเมื่อเทียบกับบริษัทท้องถิ่นแล้ว พบว่าบริษัทท้องถิ่นมียุทธศาสตร์ภูมิภาคเพียงร้อยละ 55 เท่านั้น ซึ่งก็มีทฤษฎีที่มาอธิบายแตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัจจัยหลักคือ บริษัทท้องถิ่นนั้นมีขนาดที่เล็กกว่าบริษัทข้ามชาตินั่นเอง
 


ความท้าทายของอาเซียนและสิงคโปร์กับการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ อเมริกา

ถึงแม้ว่าการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค (Trans-Pacific Partnership : TPP) จะชะงักลง แต่ก็มิได้หมายความว่าความพยายามในการเจรจาที่ผ่านมาได้พังทลายไปทั้งหมด เนื่องจากสหรัฐฯ อาจจะกลับเข้ามาสู่กระบวนการเจรจาใหม่อีกครั้ง หรือประเทศในเอเชียเองอาจจะหันไปหาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ที่มีพี่ใหญ่อย่างจีนสนับสนุนอยู่ก็เป็นได้


ประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมรถยนต์ในอาเซียนและแนวทางการพัฒนาในอนาคต

บริษัทผู้ผลิตรถยนต์สามารถที่จะลงทุนสร้างโรงงานประกอบรถยนต์ในประเทศมาเลเซียและสั่งชิ้นส่วนบางรายการที่ผลิตโดยผู้ผลิตในประเทศไทย ซึ่งการสั่งชิ้นส่วนหากไม่มีเขตการค้าเสรีอาเซียน ชิ้นส่วนบางชนิดอาจจะต้องถูกเก็บภาษีในอัตราสูงขึ้นอยู่กับกฎหมายแต่ละประเทศการมีเขตการค้าเสรีทำให้ปัญหาดังกล่าวหมดทำให้ผู้ผลิตรถยนต์สามารถบริหาร Supply Chain ได้อย่างมีประสิทธิภาพส่งผลถึงราคารถยนต์มีราคาต่ำลง ทั้งนี้ ชิ้นส่วนที่สามารถได้รับสิทธิทางภาษีได้ต้องมีส่วนที่ผลิตในอาเซียนไม่น้อยกว่าที่กำหนด คือ ๔๐ % และต้องมีเอกสารรับรองจากประเทศสมาชิก


อาเซียนควรรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัฒน์อย่างไร?

การเปิดเสรีทางการค้าได้มีมากว่า 7 ทศวรรษแล้ว แต่เมื่อในระยะหลังได้มีหลายเหตุการณ์ที่เป็นปัจจัยส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในวงกว้าง ทั้งการที่อังกฤษประกาศแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป หรือการที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งครั้งสำคัญและครองตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าสถานการณ์โลกกำลังจะเปลี่ยนแปลงไป อันดับแรกที่ต้องพิจารณาคือการหยุดชะงักของ GDP ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ประการที่สองคือการเจรจาในประเด็นการเปิดเสรีทางการค้าในระดับพหุภาคีในเวทีโดฮานั้นล้มเหลวโดยที่มองไม่เห็นโอกาสฟื้นขึ้นมาใหม่อีกเลย และแม้แต่การเจรจาทวิภาคีระหว่างประเทศแต่ละประเทศกลับได้รับการตอบรับที่ดีกว่ามากก็ยังชะลอตัวลงเช่นกัน กระทั่งในสหรัฐอเมริกาเองก็ตาม


ความเป็นไปได้ที่ไทยจะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของอาเซียน

ธุรกิจท่องเที่ยวนั้นทำรายได้ให้กับประเทศไทยมาแล้วอย่างมากมายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยความที่ประเทศไทยมีความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติ การคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว และความมีชื่อเสียงผ่านรอยยิ้มของคนไทย แต่องค์ประกอบเหล่านี้จะเพียงพอหรือไม่สำหรับการก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของอาเซียนดังที่รัฐบาลเคยคาดหวังไว้
ในบทความฉบับนี้เราจะมาพิจารณาถึงจุดเด่น-จุดด้อย และศักยภาพด้านต่างๆของประเทศไทย รวมถึงสถานการณ์การท่องเที่ยวของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน เพื่อนำมาพัฒนาและต่อยอดอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับนโนบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาลต่อไป


สรุปการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ครั้งที่ ๒๔ ที่กรุงลิมา ประเทศชิลี

การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก คือการประชุมผู้นำจากประเทศเอเชียและประเทศริมมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งการประชุมดัง
กล่าวเป็นการประชุมที่มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เป้าหมายคือการทำให้การค้าระหว่างประเทศสมาชิกเป็นไปอย่างราบรื่น


ความคืบหน้าของการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนด้านการคมนาคม สรุปจากการประชุมรัฐมนตรีคมนาคมอาเซียนครั้งที่ ๒๒

การคมนาคมถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศและการเชื่อมต่อภายในภูมิภาค การคมนาคมที่ดีหรือการมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีจะช่วยให้ประเทศและภูมิภาคมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ รวมถึงพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น 


เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ในฐานะประชาชนชาวไทย เราต่างเคยได้ยิน ได้ฟัง ได้เรียนรู้ถึงความหมายของคำว่า “หลักเศรษฐกิจพอเพียง” อันเป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช อันเป็นที่รักยิ่งของประชาชนชาวไทย และเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและคณะ เข้าร่วมการประชุมในหัวข้อ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน: แรงผลักดันสากลเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกของเรา” (The Sustainable Development Goals: a universal push to transform our world) ซึ่งได้จัดขึ้น ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา


ความเคลื่อนไหวของประเทศสมาชิกต่อการรวมตัวเป็นประคมอาเซียน กัมพูชา

กัมพูชามีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) ด้วยเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับวัฒนธรรมและประเพณีที่คล้ายคลึงกับไทย และจำนวนประชากร 15.7 ล้านคน ซึ่งกว่าร้อยละ 70.0 เป็นวัยแรงงานที่มีค่าจ้างอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งนโยบายการเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้ในช่วงที่ผ่านมามีนักลงทุนโดยเฉพาะจากไทยสนใจเข้าไปลงทุนในธุรกิจการผลิตและการท่องเที่ยวกันอย่างต่อเนื่อง และในโอกาสที่รวมกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปีนี้ กัมพูชามีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันคือ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี ขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2547 และมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำประเทศคือ สมเด็จฮุน เซน โดยดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี


เวียดนามกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

เวียดนามได เข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนเมื่อปี ๒๕๓๘ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน หรือ CLMV ซึ่งได้รับความยืดหยุ่นในการเปิดเสรีด้านต่าง ๆ มากกว่ากลุ่มสมาชิกดั้งเดิมขออาเซียน จากที่ผ่านมา เวียดนามที่มีความกระตือรือร้นในการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่าง มาก โดยได้มีการวางนโยบายออกกฎหมายกำหนดกลไกต่าง ๆ และกรอบการปฏิบัติทางงาน 



    © 2016 Office of the Council of State.