BANNER


ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน




ดัชนีชี้วัดหลักนิติธรรมประจำปี ค.ศ. ๒๐๒๐ (Rule of Law Index) ของประเทศมาเลเซีย

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอระดับหลักนิติธรรมของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีคะแนนจากการสำรวจสูงเป็นอันดับ ๒ ของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อสะท้อนถึงจุดแข็งและประเด็นปัญหาของประเทศ เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นประเทศที่ยึดถือหลักนิติธรรมอย่างสมบูรณ์


ดัชนีชี้วัดหลักนิติธรรม (Rule of Law Index) ปี ค.ศ. ๒๐๒๐ ของประเทศกัมพูชา

ด้วยเหตุที่หลักนิติธรรมให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงเป็นหลักการที่สัมพันธ์กับหลักสิทธิมนุษยชนและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันเป็นหลักที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล หลักนิติธรรมจึงเป็นแนวคิดที่มีการถือปฏิบัติในหลายประเทศเพื่อสร้างสังคมที่มีความเสมอภาคและเป็นธรรม  อย่างไรก็ดี เพื่อสะท้อนถึงระดับหลักนิติธรรมของแต่ละประเทศโครงการความยุติธรรมโลก (World Justice Project: WJP) จึงได้จัดทำดัชนีชี้วัดหลักนิติธรรมประจำปี (Rule of Law Index) โดยประเมินการปฏิบัติตามหลักนิติธรรมของ ๑๒๘ ประเทศทั่วโลกภายใต้ตัวชี้วัด ๘ ด้าน ๔๔ องค์ประกอบย่อย เพื่อแสดงภาพรวมของหลักนิติธรรมในแต่ละประเทศในเชิงปริมาณ โดยมีประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้รับการสำรวจ ๘ ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เมียนมา และกัมพูชา โดยบทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอระดับหลักนิติธรรมของประเทศกัมพูชา


ดัชนีชี้วัดหลักนิติธรรม (Rule of Law Index) ปี ค.ศ. ๒๐๒๐ ของประเทศสิงคโปร์

ด้วยเหตุที่หลักนิติธรรมให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงเป็นหลักการที่สัมพันธ์กับหลักสิทธิมนุษยชนและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันเป็นหลักที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล หลักนิติธรรมจึงเป็นแนวคิดที่มีการถือปฏิบัติในหลายประเทศเพื่อสร้างสังคมที่มีความเสมอภาคและเป็นธรรม  อย่างไรก็ดี เพื่อสะท้อนถึงระดับหลักนิติธรรมของแต่ละประเทศโครงการความยุติธรรมโลก (World Justice Project: WJP) จึงได้จัดทำดัชนีชี้วัดหลักนิติธรรมประจำปี (Rule of Law Index) โดยประเมินการปฏิบัติตามหลักนิติธรรมของ ๑๒๘ ประเทศทั่วโลกภายใต้ตัวชี้วัด ๘ ด้าน ๔๔ องค์ประกอบย่อย เพื่อแสดงภาพรวมของหลักนิติธรรมในแต่ละประเทศในเชิงปริมาณ โดยมีประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้รับการสำรวจ ๘ ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เมียนมา และกัมพูชา บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอระดับหลักนิติธรรมของประเทศสิงคโปร์ตามดัชนีชี้วัดหลักนิติธรรม เนื่องจากเป็นประเทศที่มีคะแนนรวมสูงสุดในประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อแสดงให้เห็นถึงจุดแข็งและปัญหาที่ท้าทายของสิงคโปร์ 


มาตรการและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID – ๑๙ ของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เวียดนามมีจำนวนผู้ติดเชื้อ ๒๖๘ ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต และไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มตลอดหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวนผู้ติดเชื้อของเวียดนามลดลงเป็นลำดับที่ห้าเมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียน รัฐบาลได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และตามกฎหมายควบคุมโรค รวมทั้งได้ใช้หลักการกระจายอำนาจ ให้อำนาจคณะกรรมการประชาชนจังหวัด (Provincial People’s Committee) จัดทำมาตรการในระดับท้องถิ่นเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย และระเบียบต่าง ๆ ที่บัญญัติโดยองค์กรของรัฐที่อยู่ในระดับสูงกว่า  ขณะนี้ COVID – ๑๙ เป็นโรคระบาดกลุ่ม A  ที่มีระดับความรุนแรงสูงสุดตามกฎหมายควบคุมโรคของเวียดนาม การควบคุมการแพร่ระบาดของเวียดนามเป็นไปตามกฎหมายควบคุมโรค และหากมีการฝ่าฝืนมาตรการของทางราชการ จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่มีบทลงโทษที่เข้มงวด มาตรการและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการแพร่ระบาด COVID – ๑๙ ของเวียดนามมีประเด็นน่าสนใจหลายประการ 
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ >>  มาตรการและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID – ๑๙ ของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม


กฎหมายควบคุมอาวุธปืนและการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาวุธของประเทศสิงคโปร์

ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาวุธปืนทุกประเทศ แต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียดและความเข้มงวดของการควบคุม สำหรับสิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับการยอมรับว่ามีกฎหมายควบคุมอาวุธปืนเข้มงวดที่สุดในโลก จากข้อมูลจากองค์กรระหว่างประเทสด้านการวางแผนและนโยบายป้องกันการบาดเจ็บ พบว่า ในปี ค.ศ. ๒๐๑๗ จำนวนการครอบครองปืนโดยพลเรือนทั้งในรูปแบบที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมายในสิงคโปร์มีเพียง ๒๐,๐๐๐ กระบอก โดยคิดเป็นอัตราร้อยละ ๐.๓ ของประชากรทั้งหมดในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสองประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีอัตราการครอบครองอาวุธปืนที่ต่ำที่สุด  นอกจากนี้ จากการายงานดัชนีสันติภาพโลก (Global Peace Index) ซึ่งจัดทำโดยสถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ (Institute for Economics and Peace) พบว่า สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีสันติภาพและความสงบสุขเป็นอันดับหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอันดับเจ็ดจากประเทศที่ได้รับการประเมินทั้งสิ้น ๑๖๓ ประเทศทั่วโลก โดยมีคะแนนรวม ๑.๓๔๗ ซึ่งเป็นการประเมินจากปัจจัยที่ครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง ประเด็นทางสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม โดยมีปัจจัยเกี่ยวกับการเข้าถึงอาวุธปืนขนาดเล็กเป็นตัวชี้วัดสำคัญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางสังคม ในด้านดังกล่าวสิงคโปร์ถูกจัดอยู่ในอันดับที่สองของโลกมีคะแนน ๑.๒๓๓ โดยมีสถิติการก่อคดีอาชญากรรม จำนวนนักโทษในเรือนจำและยอดผู้เสียชีวิตจากอาชญากรรมอยู่ในระดับต่ำ  ในการนี้จึงเป็นที่น่าสนใจศึกษาเกี่ยวกับมาตรการที่ประเทศสิงคโปร์ใช้ในการควบคุมการมี การใช้ และการพกพาอาวุธปืน บทความฉบับนี้จึงมุ่งนำเสนอถึงสาระสำคัญของกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธปืนของประเทศสิงคโปร์ เพื่อเป็นกรณีศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศอื่นต่อไป


ฟิลิปปินส์กับกฎหมายควบคุมอาวุธปืนและเครื่องกระสุน

ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาวุธปืนทุกประเทศ แต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียดและความเข้มงวดของการควบคุม โดยไทยและฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีกฎหมายอนุญาตให้ประชาชนพลเรือนสามารถขออนุญาตครอบครองและพกพาอาวุธปืนไปในที่สาธารณะได้ แต่จะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จึงทำให้ทั้งสองประเทศมีจำนวนประชาชนผู้ถือครองปืนมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยฟิลิปปินส์มีการครอบครองปืนทั้งในรูปแบบที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมายกว่า ๒.๖ – ๓.๙ ล้านกระบอก คิดเป็นอัตราร้อยละ ๒.๔ – ๓.๗ ของประชากรฟิลิปปินส์ทั้งหมด และในขณะเดียวกัน เมืองดาเนาบนเกาะเซบูของฟิลิปปินส์ยังเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตปืนที่ทำการส่งออกในระดับโลกอีกด้วย  นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังได้รับการประเมินจากสถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ (Institute for Economics and Peace) ว่าเป็นประเทศที่มีสันติภาพและความสงบสุขต่ำ โดยถูกจัดอยู่ในอันดับ ๑๓๔ จาก ๑๖๓ ประเทศทั่วโลก มีคะแนนรวมทั้งสิ้น ๒.๕๑๖ ซึ่งปัจจัยเกี่ยวกับการเข้าถึงอาวุธปืนขนาดเล็กเป็นตัวชี้วัดสำคัญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางสังคม ในด้านดังกล่าวประเทศฟิลิปปินส์ถูกจัดอยู่ในอันดับ ๑๓๕ ของโลก มีคะแนน ๓.๐๖๔ โดยมีสถิติการก่อคดีอาชญากรรม จำนวนนักโทษในเรือนจำและยอดผู้เสียชีวิตจากอาชญากรรมอยู่ในระดับสูง ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธปืนในประเทศเป็นประเด็นที่ถูกนำมาพิจารณาประกอบ ในการนี้ จึงเป็นที่น่าสนใจศึกษาเกี่ยวกับมาตรการที่ฟิลิปปินส์ใช้ในการจัดการและควบคุมการมี การใช้ และการพกพาอาวุธปืน บทความฉบับนี้จึงมุ่งนำเสนอถึงสาระสำคัญของกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนและเครื่องกระสุน (Comprehensive Firearms and Ammunition Regulation Act) ของประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อศึกษาถึงขอบเขตของการควบคุมอาวุธปืนในฟิลิปปินส์


ความสัมพันธ์อาเซียน - สหรัฐฯ และความท้าทาย

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญกับสหรัฐอเมริกาในด้านความมั่นคง มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่เหตุการณ์ก่อการร้ายเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ค.ศ. ๒๐๐๑ ซึ่งทำให้สหรัฐฯ มีบทบาททางการทหารในภูมิภาคนี้มากยิ่งขึ้น โดยมองว่าเอเชียตะวันออกเฉียงเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ในการเผยแพร่แนวคิดการป้องกันและปราบปรามขบวนการก่อการร้าย  นอกจากนี้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเป็นภูมิภาคที่สำคัญในทางเศรษฐกิจสำหรับสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีพลวัตและเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีเติบโตอย่างรวดเร็ว สหรัฐฯ จึงได้มุ่งกระชับความสัมพันธ์ผ่านการดำเนินนโยบายต่างประเทศในเชิงรุกมาโดยตลอดโดยเป็นการดำเนินความสัมพันธ์ในระดับทวิภาคีกับประเทศในภูมิภาคทั้งในด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ


มลพิษจากหมอกควันข้ามแดนอาเซียน

ปัญหามลพิษหมอกควันข้ามแดนส่งผลกระทบในวงกว้าง ไม่จำกัดพื้นที่ ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปีถูกเรียกเป็นฤดูไฟป่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออก จะมีไฟป่าจุดเล็ก ๆ เกิดขึ้นจำนวนมากในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่อาเซียนได้จัดทำ Roadmap กำหนดแนวทางแก้ปัญหา โดยมีวิสัยทัศน์ อาเซียนปลอดหมอกควัน ในปี 2563 หรือ “Transboundary Haze-Free ASEAN by 2020” เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่: มลพิษจากหมอกควันข้ามแดนอาเซียน


การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย – แปซิฟิก ครั้งที่ ๒๖

การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก  (ASEAN Regional Forum: ARF) เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาอาเซียน (Dialogue Partners) อีก ๒๖ ประเทศ การจัดประชุม ARFมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีสำหรับการหารือระหว่างประเทศสมาชิกในประเด็นทางการเมืองและความมั่นคงที่มีความสนใจและความกังวลร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคผ่านมาตรการสำคัญ ๓ ลำดับ ได้แก่ ๑) การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ๒) การทูตเชิงป้องกัน และ ๓) การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งการประชุมดังกล่าวจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีประเทศที่เป็นประธานอาเซียนในปีนั้นเป็นประธาน ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ประเทศไทยในฐานะของประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๓๔ จึงได้จัดประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ครั้งที่ ๒๖ ขึ้น เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศจากประเทศสมาชิกอาเซียน จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา


การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารทางราชการ (Public Information Disclosure) ของประเทศอินโดนีเซีย

ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่สองในภูมิภาคอาเซียนถัดจากประเทศไทยที่ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารทางราชการ (Public Information Disclosure Act) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับในปี พ.ศ.๒๕๕๓ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดประเภทของข้อมูลข่าวสารทางราชการ ระยะเวลาที่หน่วยงานของรัฐต้องประกาศหรือเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบ และให้สิทธิประชาชนสามารถยื่นคำขอข้อมูลข่าวสารทางราชการได้ โดยหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ต้องดำเนินการตามคำขอภายในกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เว้นแต่ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลข่าวสารที่กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องเปิดเผย ซึ่งหากมีข้อพิพาทเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ขอข้อมูลและหน่วยงานของรัฐ กฎหมายได้กำหนดให้มีคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารทางราชการทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย วินิจฉัยข้อพิพาทดังกล่าว
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารทางราชการ (Public Information Disclosure) ของประเทศอินโดนีเซีย


การขุดดินและถมดินตามกฎหมายของสหพันธรัฐมาเลเซีย

การศึกษากฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน (Land Excavation and Landfill Law) ของสหพันธรัฐมาเลเซีย (Federation of Malaysia) เป็นอีกประเด็นทางกฎหมายที่น่าสนใจ เนื่องจากสหพันธรัฐมาเลเซียเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกของอาเซียน รวมทั้งยังเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศไทยตลอดมา แม้ระบบกฎหมายและรูปแบบการปกครองของมาเลเซียและไทยจะมีความแตกต่างกัน สิ่งหนึ่งที่ทั้งสองประเทศเหมือนกันคือ การมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหา “ความต้องการใช้ประโยชน์จากที่ดิน (Demand for Land Use)” ที่เพิ่มมากขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) อันสะท้อนออกมาผ่านทางบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ การขุดดินและถมดินของตามกฎหมายสหพันธรัฐมาเลเซีย


อาเซียนและอินเดีย: ความสัมพันธ์ภายใต้นโยบายปฏิบัติการตะวันออก (Act East Policy)

การดำเนินความสัมพันธ์ของอินเดียกับอาเซียนมีรากฐานสำคัญมาจากนโยบายต่างประเทศที่กำหนดโดยผู้นำของอินเดียในแต่ละสมัย ซึ่งในช่วงทศวรรษ ๑๙๙๐ อินเดียภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีพีวี นาราสิมฮา ราว (P.V. Narasimha Rao) พัฒนาความสัมพันธ์กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านนโยบายมองตะวันออก (Look East Policy) โดยมุ่งกระชับความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง การเมือง และสังคมวัฒนธรรม ซึ่งการใช้นโยบายดังกล่าวสะท้อนให้เห็นจากการเข้าเป็นคู่เจรจาเฉพาะด้านกับอาเซียนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ และพัฒนาสถานะเรื่อยมาจนเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของอาเซียนอันแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการความสัมพันธ์ของอาเซียนและอินเดียในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา  อย่างไรก็ดี ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางการเมืองและความมั่นคงระหว่างประเทศ ตลอดจนความผันผวนทางเศรษฐกิจจึงสร้างแรงผลักดันใหม่ให้อินเดียทบทวนการดำเนินนโยบายต่างประเทศต่ออาเซียนและภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกจึงเป็นที่มาของการประกาศใช้นโยบายปฏิบัติการตะวันออก (Act East Policy) ในสมัยของนายกรัฐมนตรีนเรนทระ ทาโมทรทาส โมที (Narendra Damodardas Modi) ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างความร่วมมือกับอาเซียนและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอการใช้นโยบายปฏิบัติการตะวันออกเพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของอาเซียนและอินเดียในทศวรรษปัจจุบัน


เอกสารมุมมองอาเซียนต่ออินโด – แปซิฟิก (ASEAN Outlook on the Indo-Pacific)

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียอยู่ท่ามกลางพลวัตของโลกและเป็นศูนย์กลางของการเติบโตทางเศรษฐกิจในทศวรรษนี้จึงเป็นผลให้ประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitical) และภูมิยุทธศาสตร์ (geostrategic) มาโดยตลอด โดยที่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้นำมาซึ่งโอกาสและความท้าทาย กล่าวคือ การเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการสร้างความร่วมมือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและยกระดับความเป็นอยู่ของผู้คนในภูมิภาค  อย่างไรก็ตาม อำนาจทางเศรษฐกิจและกองกำลังทหารในภูมิภาคก็ทำให้เกิดความไม่ไว้ใจระหว่างกัน รวมถึงพฤติกรรมของตัวแสดงในภูมิภาคที่ได้สะท้อนออกมาในรูปแบบของเกมผลรวมเป็นศูนย์ (zero – sum game)


อาเซียนและเกาหลีใต้: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศภายใต้นโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southern Policy)

ทั้งสองฝ่ายไม่เพียงแต่จะพึ่งพากันในด้านเศรษฐกิจเท่านั้น หากแต่อาเซียนหรือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีความสำคัญต่อเกาหลีใต้ในมิติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่สถานการณ์การเมืองภายในของเกาหลีที่อยู่ในภาวะของการเปลี่ยนผ่านผู้นำประเทศ ปัญหาคาบสมุทรเกาหลี และปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจของเกาหลีใต้กับจีนที่มีความตึงเครียด ตลอดจนปัจจัยจากบริบทภายนอก โดยเฉพาะการแข่งขันทางอำนาจระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน จึงส่งผลให้เกาหลีใต้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศภายใต้การนำของประธานาธิบดีมุน แจ อิน (Moon Jae-in) ซึ่งได้ประกาศใช้นโยบายหรือยุทธศาสตร์สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้ชื่อ นโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southern Policy) อันเป็นนโยบายที่สำคัญกับเกาหลีใต้และอาเซียนทั้งในเชิงการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอนัยสำคัญของการใช้นโยบายดังกล่าว เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายในมิติของการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ


สิงคโปร์กับการควบคุมสื่อและข้อมูลข่าวสาร

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอสาระสำคัญของกฎหมายป้องกันและจัดการข้อมูลเท็จในสื่อออนไลน์ (The Protection from Online Falsehoods and Manipulation) เพื่อเป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับการใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมสื่อและการนำเสนอข้อมูลของประเทศในอาเซียนต่อไป

ปรับปรุงเมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒


ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการประชุมด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแนวนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการมลพิษ การจำกัดขยะ และการจัดวางผังเมือง เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ณ เครือรัฐออสเตรเลีย

บทความนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการประชุมด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแนวนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการมลพิษ การจำกัดขยะ และการจัดวางผังเมือง เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ณ เครือรัฐออสเตรเลีย ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของเครือรัฐออสเตรเลีย แนวนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการมลพิษ และการกำจัดขยะ แนวนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการจัดวางผังเมือง แนวนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ รวมถึงหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม 
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่ การประชุมด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแนวนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการมลพิษ การจำกัดขยะ ณ เครือรัฐออสเตรเลีย


ปัญหาการกาหนดความผิดฐานพยายามฆ่าตัวตายของสาธารณรัฐสิงคโปร์

ท่ามกลางวิธีการแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายที่มีอยู่อย่างหลากหลาย ได้ปรากฏว่าสาธารณรัฐสิงคโปร์ได้มีมาตรการทางกฎหมายในการป้องปรามไม่ให้บุคคลทาการฆ่าตัวตาย ด้วยการกาหนดให้การพยายามฆ่าตัวตาย เป็นความผิดอาญาตามมาตรา ๓๐๙ แห่งประมวลกฎหมายอาญาสิงคโปร์  กรณีดังกล่าวจึงมีข้อพิจารณาที่สาคัญว่า ฐานความผิดดังกล่าวนั้นจะสามารถถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ และมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด


ปัญหาการใช้เด็กและเยาวชนในการกระทำความผิดในประเทศฟิลิปปินส์

เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ทางรัฐสภาฟิลิปปินส์ได้มีแนวคิดในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องการกำหนดความรับผิดทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน โดยมีการเสนอร่างกฎหมายที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการยุติธรรม ประจำสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งกำหนดให้ลดอายุของผู้รับผิดทางอาญาจากปัจจุบันอยู่ที่ ๑๕ ปี ลงมาอยู่ที่ ๙ ปี ตามคำเสนอภายใต้นโยบายการปราบปรามยาเสพติดของประธานาธิบดี Rodrigo Duterte   ทั้งนี้ แนวคิดดังกล่าวนั้นมีเหตุเบื้องหลังมาจากว่า ผู้ค้ายาเสพติดได้มีการฉวยประโยชน์จากกฎหมายปัจจุบันด้วยการใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการเคลื่อนย้ายยาเสพติด เพราะ ตามหลักกฎหมายอาญาของประเทศฟิลิปปินส์นั้นได้กำหนดให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีไม่ต้องรับผิดทางอาญา ตามมาตรา ๑๒(๓) แห่ง ประมวลกฎหมายอาญาฟิลิปปินส์ กรณีดังกล่าวจึงมีประเด็นปัญหาในเรื่องความขัดแย้งกับหลักสากล
 


ความผิดฐานอาชญากรรมทำลายล้างระบบนิเวศของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

จากการศึกษาพบว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้เคยมีการนำมาตรการทางอาญารูปแบบพิเศษพิเศษมาใช้บังคับกับกรณีปัญหาดังกล่าวเป็นการเฉพาะ ด้วยการกำหนดความผิดอาญาฐาน “อาชญากรรมทำลายล้างระบบนิเวศ (the crime of ecocide)” เอาไว้ในระบบกฎหมายของตนเองเมื่อครั้งอดีต ซึ่งได้มีการระวางโทษในระดับสูงทัดเทียมกับความผิดอาญาระหว่างประเทศ ๔ ฐานร้ายแรงตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงจะได้ทำการอธิบายและนำเสนอ ประวัติความเป็นมา อาชญากรรมทำลายล้างระบบนิเวศของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และจะได้ทำการวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียนต่อไป


อาเซียนกับการจัดการปัญหาอาชญากรรมไซเบอร์

อาเซียนกับการจัดการปัญหาอาชญากรรมไซเบอร์ อ่านต่อ...


หลักความรับผิดทางอาญาของผู้บังคับบัญชาตามธรรมนูญจัดตั้งศาลองค์คณะชำระคดีวิสามัญแห่งตุลาการกัมพูชา

เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑ ก็ได้มีคำตัดสินเป็นครั้งแรกว่า รัฐบาลเขมรแดงก่ออาชญากรรมฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวจามและชาวเขมรเชื้อสายเวียดนาม โดยมีนายนวน เจีย  ผู้นำอันดับสองของเขมรแดง  รองจากพลพต และเขียว สัมพัน ซึ่งเคยเป็นประมุขของรัฐ และเป็นอดีตผู้นำอาวุโสที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ เข้ารับฟังการพิจารณาคดีขององค์คณะชำระคดีวิสามัญแห่งตุลาการกัมพูชา หรือที่รู้จักกันว่าศาลคดีเขมรแดง ซึ่งตั้งขึ้นโดยความตกลงระหว่างรัฐบาลกัมพูชากับองค์การสหประชาชาติเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยศาลก็ได้มีคำพิพากษาจำคุกจำเลยทั้งสองตลอดชีวิต


บทอวสานของบุคลากรระดับสูงของรัฐบาลเมียนมาร์ในเหตุการณ์ความรุนแรงในรัฐยะไข่จากหลักการไร้ความคุ้มกันและความรับผิดของผู้บังคับบัญชาของศาลอาญาระหว่างประเทศ

ความผิดฐานอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติเป็นความผิดอาญาที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศตามธรรมนูญกรุงโรม ซึ่งแม้ศาลอาญาภายในของรัฐจะไม่สามารถดำเนินคดีได้ด้วยเหตุแห่งความคุ้มกันของรัฐก็ตาม แต่ศาลอาญาระหว่างประเทศนั้นก็หาได้ถูกจำกัดอำนาจการดำเนินคดีด้วยเหตุเช่นว่านี้ไม่ หากแต่สามารถทะลุทะลวงความคุ้มกันของรัฐและดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้ด้วยข้อบัญญัติที่กำหนดไว้เป็นพิเศษเพื่อดำเนินคดีกับอาชญากรรมระหว่างประเทศร้ายแรง  ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงจะได้ทำการอธิบายถึงหลักความคุ้มกันของรัฐ หลักไร้ความคุ้มกันของศาลอาญาระหว่างประเทศ และหลักความรับผิดของผู้บังคับบัญชา แล้วจึงได้ทำการวิเคราะห์กรณีปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินคดีกับนางออง ซาน ซูจี ตามกรณีศึกษาต่อไป


ความเหมาะสมในการกำหนดความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาทภายในประเทศสมาชิกอาเซียน

ประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนนับเป็นอีกเรื่องที่ประเทศในประชาคมอาเซียนต่างก็ให้ความสำคัญ สะท้อนผ่านปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Human Rights Declaration; AHRD) ที่ถือว่าเป็นเอกสารสำคัญของความร่วมมือในด้านสิทธิมนุษยชนของอาเซียน โดยกล่าวถึงการคุ้มครองและการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประเทศสมาชิกจะได้นำไปเป็นต้นแบบสำหรับการกำหนดแผนงานและนโยบายเสริมสร้างสิทธิมนุษยชนภายในประเทศได้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ได้ปรากฏว่าประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละรัฐส่วนใหญ่ได้มีการกำหนดความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาทไว้ในระบบกฎหมายภายในของตน ซึ่งถูกนำไปใช้ในการปราบปราม และจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนถึงความไม่พอใจต่อสถานการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในประเทศภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ต่าง ๆ ซึ่งถูกปิดกั้นอย่างรุนแรงโดยรัฐและองค์กรเอกชน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดประเด็นปัญหาความขัดแย้งกันระหว่าง “สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิด (freedom of expression)” และ “สิทธิในเกียรติยศชื่อเสียง (right to reputation)” อันเป็นสิทธิที่ล้วนแต่ได้รับการรับรองและคุ้มครองตามปฏิญญา AHRD ทั้งสิ้น กรณีดังกล่าวจึงมีประเด็นพิจารณาถึงความเหมาะสมของการกำหนดความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาทในระบบกฎหมายของรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งหลาย ซึ่งผู้เขียนจะได้อธิบายถึงสภาพปัญหาอันเกิดจากการกำหนดความผิดฐานหมิ่นประมาทในประเทศสมาชิกอาเซียน แนวคิดและทฤษฎีการกำหนดความผิดอาญา จากนั้นจึงจะได้วิเคราะห์ความเหมาะสมในการกำหนดความผิดฐานหมิ่นประมาทต่อไป


ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: ข้อสังเกตเกี่ยวกับผลกระทบด้านความมั่นคงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

                    ตามรายงานของ Global Climate Risk Index พบว่า สี่ในสิบของประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อนเป็นกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ ประเทศเมียนมา ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม  นอกจากนี้ จากการศึกษาของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) พบว่า อุณหภูมิและระดับน้ำทะเลในภูมิภาคมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งทำให้ประเทศชายฝั่งโดยเฉพาะประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไทย และเวียดนามได้รับผลกระทบจะเห็นได้ว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคจะต้องเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ซึ่งจะส่งผลต่อมิติเศรษฐกิจ ความมั่นคง และสังคมวัฒนธรรมของภูมิภาค ประเด็นดังกล่าวได้กลายเป็นความกังวลหลักของประชาคมอาเซียน จึงนำมาซึ่งการสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐเพื่อจัดการแก้ไขผ่านสถาบันต่าง ๆ ของอาเซียน บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาและวิเคราะห์ต่อไป


เขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศเหนือรัฐสมาชิกอาเซียน: กรณีอาชญากรรมล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศเมียนมาร์

เหตุการณ์ล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศเมียนมาร์ที่เกิดขึ้นนั้นได้ต้องด้วยบทบัญญัติความผิดฐานอาชญากรรมล้างเผ่าพันธุ์ อ่านต่อ...


กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศสมาชิกอาเซียน

          บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอภาพรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภายในอาเซียน รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน เพื่อประโยชน์ในการศึกษาเปรียบเทียบและพัฒนากฎหมายด้านดังกล่าวต่อไป


ปัญหาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างรัฐสมาชิกอาเซียน : กรณีความผิดฐานอาชญากรรมล้างเผ่าพันธุ์

บทความฉบับนี้ผู้เขียนจึงจะได้ทบทวนถึงหลักการส่งผู้ร้ายข้ามแดน อ่านต่อ...


อุปสรรคของอาเซียนกับการจัดการปัญหาการก่อการร้ายภายในภูมิภาค

           นับตั้งแต่ที่ปัญหาการก่อการร้ายคุกคามภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรุนแรงขึ้น อาเซียนได้สร้างกลไกเพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าวในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งยังปรากฏความต้องการที่จะสร้างความร่วมมือเพื่อการต่อต้านการก่อการร้ายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภายหลังจากที่เกิดเหตุลอบวางระเบิดวันที่ ๑๒ ตุลาคม ค.ศ. ๒๐๐๒ อันเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบและความเสียหายต่อภูมิภาคเป็นอย่างมาก การกำหนดให้ประเด็นการก่อการร้ายเป็นวาระสำคัญในการประชุมระหว่างรัฐมนตรีอาเซียนเวทีต่าง ๆ ทั้งนี้ ผลจากความร่วมมือดังกล่าวนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงการตระหนักในภัยก่อการร้ายผ่านคำแถลงการณ์ของบรรดาผู้นำในเวทีการประชุมการพบปะระหว่างผู้นำยังสะท้อนให้เห็นความพยายามในการสร้างกระบวนการรับรู้และความเข้าใจระหว่างกันในเรื่องของปัญหาการก่อการร้าย ตลอดจนการมีปฏิสัมพันธ์เหล่านี้ยังนำมาซึ่งการสร้างบรรทัดฐานอันเป็นแนวปฏิบัติร่วมกันเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายซึ่งเห็นได้จากข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุมที่เกี่ยวข้องกับแนวทางในการป้องกันและปราบปรามปัญหาการก่อการร้ายร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เช่น การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข่าวกรองความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ก่อการร้าย มาตรการยับยั้งการไหลเวียนของเงินทุน มาตรการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันในประเด็นทางสังคมและศาสนา เป็นต้น


สถานการณ์การก่อการร้ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกลไกการจัดการปัญหาของอาเซียน

           การก่อการร้าย เป็นภัยคุกคามความมั่นคงในรูปแบบใหม่ (Non – Traditional Security) ที่มีความรุนแรงและสร้างความเสียหายต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งยังเป็นปัญหาที่ท้าทายความสามารถของประเทศทั้งหลายในการจัดการแก้ไข เนื่องจากเป็นภัยคุกคามความมั่นคงแห่งชาติและการดำรงอยู่ของรัฐ ลักษณะของการก่อการร้ายในยุคโลกาภิวัตน์ได้ก้าวข้ามข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์ ทำให้การใช้ความรุนแรงของกลุ่มผู้ก่อการร้ายไม่ได้คำนึงถึงขอบเขตหรือพื้นที่เขตแดนของรัฐอีกต่อไป ด้วยปรากฎการณ์ดังกล่าวนี้จึงทำให้กลุ่มผู้ก่อการร้ายอยู่ในสถานะของตัวแสดงข้ามชาติ (Transnational Actors) ซึ่งมีบทบาทและเพิ่มจำนวนขึ้นได้โดยง่าย อีกทั้งกระบวนการและแนวคิดของการก่อการร้ายนั้นยังมีความซับซ้อนที่สามารถครอบคลุมได้ในทุกมิติของสังคม สิ่งดังกล่าวได้กลายเป็นปัจจัยที่ยกระดับให้ปัญหาการก่อการร้ายเป็นปัญหาข้ามพรมแดนที่มีความร้ายแรงและเป็นการยากที่แต่ละประเทศจะรับมือได้อย่างลำพัง


จาก Pivot to Asia สู่ American First นัยสำคัญต่ออาเซียน: บทบาทของสหรัฐฯ กรณีปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้

                การปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ เป็นนโยบาย American First ซึ่งเป็นการลดความเป็นเสรีนิยมและเพิ่มความเป็นชาตินิยมให้มากขึ้นนั้นได้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับอาเซียนในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่ออภิปรายนัยสำคัญของการดำเนินนโยบาย American First ของสหรัฐฯ ต่ออาเซียน โดยจะแสดงให้เห็นถึงบทบาทของสหรัฐฯ ในยุคของโอบามาที่ดำเนินนโยบายแบบ Pivot to Asia และการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคของทรัมป์ภายใต้นโยบาย American First โดยศึกษากรณีปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้อันเป็นปัญหาที่สำคัญสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


​การวิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมาย (RIA) ในเวียดนาม

กฎหมายเป็นข้อกำหนดหรือข้อบังคับของสังคมที่ตราขึ้นเพื่อบังคับให้สมาชิกในสังคมต้องปฏิบัติตาม ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายย่อมต้องถูกลงโทษ กฎหมายจึงเป็นสิ่งที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในเรื่องต่าง ๆ การมีกฎหมายมากขึ้นเท่าใด จึงเป็นสิ่งที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลมากขึ้นเท่านั้น   


ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการป้องกันและต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์ และบทวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันมีอาชญากรรมในลักษณะใหม่ที่เรียกว่า “อาชญากรรมไซเบอร์”  ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ ๓๑ ผู้นำอาเซียนได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการเสริมสร้างความร่วมมือในการต่อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์ โดยมุ่งเน้นไปที่การป้องกันสังคมของภูมิภาคอาเซียน รวมถึงการริเริ่มวิธีการในระดับภูมิภาคที่มั่นคงและมีประสิทธิภาพ โดยในการประชุมสุดยอดอาเซียนในครั้งดังกล่าว ผู้นำอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศได้รับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการป้องกันและต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์ (ASEAN Declaration to Prevent and Combat Cybercrime) โดยบทความฉบับนี้จะกล่าวถึงสาระสำคัญของปฏิญญาฯ พันธกรณี กฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องและบทวิเคราะห์ของร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. .... อีกด้วย


ประเทศไทยกับแผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ค.ศ.๒๐๒๕

                    การเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนที่มีมานานกว่าสี่ทศวรรษ ในลักษณะที่ครอบคลุมและเป็นนามธรรม ตลอดระยะเวลา ๗ ปี ตามแผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ค.ศ.๒๐๐๙-๒๐๑๕ (The ASEAN Political – Security Community : APSC (๒๐๐๙-๒๐๑๕)) อันมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนและประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถอยู่ร่วมกันในภูมิภาคและในโลกได้อย่างสันติ ภายใต้ความยุติธรรม เป็นประชาธิปไตย และมีความปรองดองกัน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค โดยยึดหลักความมั่นคงที่ครอบคลุมในทุกมิติและคำนึงถึงการดำเนินความสัมพันธ์กับภาคีนอกภูมิภาคด้วยนั้น ได้ส่งผลให้ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนมีความลึกซึ้งและครอบคลุมสาขาต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้น ทั้งยังเสริมสร้างศักยภาพของอาเซียนในการตอบสนองความท้าทายทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลก และสร้างความแข็งแกร่งให้แก่รากฐานของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนภายในช่วง ค.ศ.๒๐๑๖ – ๒๐๒๕
 


การถอนตัวจากความตกลงปารีสของสหรัฐอเมริกา ส่งผลกระทบต่อความร่วมมือด้านสภาพภูมิอากาศของอาเซียนหรือไม่

เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ นายโดนัลด์  ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาได้ประกาศถอนตัวออกจากความตกลงปารีสที่มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) การตัดสินใจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะทำให้อาเซียนเปลี่ยนจุดมุ่งหมาย  การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในรูปแบบเศรษฐกิจแนวใหม่เพื่อรองรับกับพันธกรณีตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) หรือไม่ 


ประธานาธิบดี Rodrigo Duterte กับการดึงประเทศตุรกีเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน

ในการแถลงข่าวเมื่อกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา นาย Rodrigo  Duterte แถลงว่าตุรกีและมองโกเลียอยากจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียน


บทวิเคราะห์ :: บทบาทของอาเซียนท่ามกลางวิกฤติเกาหลีเหนือ

แม้ว่าคาบสมุทรเกาหลีจะถูกแบ่งออกเป็นสองฝากโดยไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าจะสามารถกลับมารวมตัวกันได้หรือไม่ แต่ประเด็นที่น่ากังวลใจในระดับสากลคือการดื้อดึงที่จะทดลองนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ภายใต้การนำของ Kim Jong Un นี้ ซึ่งได้ลุกลามกลายเป็นความตึงเครียดที่แต่ละภูมิภาคไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เลย


การประชุมสุดยอมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 30 และประเด็นทะเลจีนใต้

การประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 30 จะจัดขึ้นภายในปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็น
วาระเดียวกันกับการครอบรอบ 50 ปีอาเซียน และเป็นอีกครั้งหนึ่งที่อาเซียนต้องเผชิญหน้ากับปัญหา
ที่น่ากังวลใจอย่างประเด็นข้อพิพาททะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นการแสดงสัญญาณด้านลบทั้งในด้านภูมิรัฐศาสตร์
และทางทะเล  อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี และความลำบากใจ
ในการเลือกข้าง ส่งผลให้ประเด็นนี้ซาลงไปบ้างในระยะที่ผ่านมา


การฟื้นโทษประหารชีวิตเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่

นายดูเตอร์เตได้ชัยชนะจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา เมื่อเขาได้เข้ามาบริหารประเทศทางตำรวจได้รายงานว่ามีการปราบปรามยาเสพติดอย่างรุนแรงทำให้ประชาชนหลายพันรายเสียชีวิตโดยอ้างว่าเป็นการป้องกันตัวของเจ้าหน้าที่ และอีกหลายพันชีวิตที่เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด โดยผู้เสียชีวิตอายุน้อยที่สุดคือ ด.ญ. ดานิก้า เมย์ การ์เซีย วัย ๕ ปี ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่รัฐวิสามัญฆาตกรรมด้วยการยิงศีรษะ


จุดแข็ง จุดอ่อน และทิศทางของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน

กระทรวงกลาโหมมีบทบาทอยู่ภายใต้เสาหลักประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community: APSC) ซึ่งกระทรวงกลาโหมมีกลไกที่เป็นรูปธรรมที่เรียกว่าการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defence Ministers’ Meeting: ADMM) และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ASEAN Defence Ministers’ Meeting-Plus: ADMM-Plus) ซึ่งที่ผ่านมา การแข่งขันด้านนโยบายจัดระเบียบของจีนและสหรัฐฯในเอเชียตะวันออกได้ทวีความตึงเครียดระหว่างภูมิภาค 


การเปลี่ยนผ่านผู้นำในอาเซียนและผลกระทบต่อประเทศไทย

          ด้วยความที่ประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศต่างดูเหมือนจะประสบภาวะเศรษฐกิจติดหล่มและยังหาทางออกไม่ได้ อีกทั้งปัญหาที่สมาชิกกำลังประสบอยู่ไม่ว่าจะเป็นการคอรัปชั่น ความรุนแรง และข้อพิพาททางทะเลจีนใต้ระหว่างฟิลิปปินส์กับประเทศจีน จึงอาจพูดได้ว่าสถานการณ์ของอาเซียนในอดีตนั้นเคยสดใสกว่านี้มาก
         


บทบาทของฟิลิปปินส์ในฐานะในประธานอาเซียน ๒๕๖๐

ในปี ๒๕๖๐ อาเซียนจะมีอายุครบ ๕๐ ปีถือเป็นปีสำคัญอย่างยิ่งในแง่การเมืองโลกจากท่ามกลางกระแสต่อต้านโลกาภิวัตน์และการกลับมาของกระแสชาตินิยมซึ่งเป็นแนวคิดตรงข้ามกับการรวมตัวเป็นกลุ่มเป็นประชาคม ฟิลิปปินส์และประเทศสมาชิกอาเซียนมีภาระกิจสำคัญที่จะไม่ทำให้การรวมกลุ่มกันเป็นประชาคมต้องสั่นคลอน นอกจากนี้ ปัญหาทะเลจีนใต้ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน


ญี่ปุ่นเผยแผนการความร่วมมือกลาโหม “วิสัยทัศน์เวียงจัน”

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาในระหว่างการหารือ ณ กรุงเวียงจัน สปป.ลาว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมประเทศญี่ปุ่น โทโมมิ อินาดะ ได้เผยถึงแนวคิดการป้องกันอาเซียนรูปแบบใหม่ภายใต้ความร่วมมือของอาเซียนและญี่ปุ่น
       


ฟิลิปปินส์และจีนมีท่าทีเป็นมิตรขึ้นต่อกรณีพิพาททะเลจีนใต้

มะนิลา – ฟิลิปปินส์และจีนได้ข้อยุติอันเป็นที่น่าพอใจ จากกรณีมีข้อพิพาทเหนือทะเลจีนใต้ระหว่างกัน โดยจีนยินยอมให้ชาวประมงฟิลิปปินส์เข้าไปในอาณาเขตหมู่เกาะพิพาททะเลจีนใต้และสามารถจับสัตว์น้ำได้ตามปรกติ หลังจากที่เกาะดังกล่าวถูกยึดโดยประเทศจีนมาตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา
 


ASEAN Law Association Legal Forum (ALA)

ASEAN Law Association Legal Forum เป็นครั้งแรกที่ประเทศฟิลิปปินส์และในการประชุมดังกล่าวได้มีมติเห็นชอบ “ธรรมนูญ ALA”


ผลกระทบจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2016 ต่อประชาคมอาเซียน (ตอนที่ ๒)

พรรครีพลับบลิกันตั้งขึ้นภายใต้การนำ
ของประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น เมื่อพ.ศ. ๒๓๙๗ เป็นการแยกตัวของนักการเมือง
ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับระบอบทาสออกมาจากพรรควิก (Whig Party) การเลือกตั้งประธานาธิบดี
ในปี พ.ศ. ๒๔๐๓ พรรครีพลับบลิกันภายใต้การนำของอับราฮัม ลินคอล์น ได้รับชัยชนะท่วมท้น
ในมลรัฐทางภาคเหนือและได้เป็นประธานาธิบดี เป็นเหตุให้รัฐทางใต้ซึ่งไม่พอใจนโยบายเลิกทาส
ของลินคอล์นจึงแยกตัวออกไป นำไปสู่สงครามกลางเมืองอเมริกา (American Civil War)
เมื่อสงครามสิ้นสุดลงฝ่ายเหนือได้รับชัยชนะ ทำให้พรรครีพลับบลิกันซึ่งชูนโยบายเลิกทาส
ประสบความสำเร็จและมีชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณเจ็ดสิบปี
ตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๐๓ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๖ (ยกเว้นในสมัยของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน)
และได้ครองเสียงข้างมากทั้งในสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามาเกือบจะโดยตลอด


สถานการณ์การสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์ของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปัจจุบันขีดความสามารถของยุทโธปกรณ์ทางน้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นได้ก้าวล้ำขีดจำกัดเดิมไปมาก ซึ่งเป็นการสร้างความกังวลต่อการสะสมอาวุธและส่งผลให้เป็นการจุดชนวนข้อพิพาทระหว่างนานาประเทศ ไม่ว่าจะโดยพิธีทางการทูต การข่มขู่ รวมไปถึงการแสดงอำนาจในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปศึกษาประวัติศาสตร์โลกแล้วเราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการสะสมอาวุธและการรวบรวมกำลังพลทางทหารนั้นได้ผ่อนคลายลงมากตั้งแต่ปลายยุคสงครามเย็น  ดังนั้น   เมื่อหลายประเทศได้เริ่มทำการสะสมอาวุธอีกครั้งโดยมิได้นัดหมายจึงนำไปสู่การศึกษาถึงประเด็นปัญหาของการสู้รบที่อาจเกิดขึ้น โดยทุกฝ่ายต่างก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการสะสมอาวุธของทุกประเทศนั้นจะเป็นเพียงการสะสมเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่คนในชาติ มากกว่าที่จะเป็นการสะสมเพื่อนำมาใช้งานจริง โดยนักวิชาการส่วนใหญ่ยังได้อธิบายเพิ่มเติมว่าการสะสมยุทโธปกรณ์นั้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากการขยายอิทธิพลทางทะเลของจีน และขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ส่งผลให้มีความจำเป็นในการปกป้องอธิปไตย และผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล แต่อย่างไรก็ตามเมื่ออุปสงค์ของกองทัพมีมากขึ้น ตลาดผู้ค้าอาวุธในภูมิภาคจึงมีการตื่นตัวและเตรียมพร้อมต่อสถานการณ์ ไม่ว่าจะดีหรือร้ายก็ตาม



    © 2016 Office of the Council of State.