บทความฉบับนี้มุ่งนำเสนอภาพรวมปัญหาและความท้าทายเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการทุจริตโครงการจัดหาและกระจายวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด - ๑๙ ซึ่งเป็นมุมมองของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC) เพื่อสะท้อนความท้าทายต่อการจัดการของรัฐและผลักดันความพยายามในการดำเนินมาตรการสำหรับการจัดการต่อไป
องค์การอนามัยโลกได้จัดทำแผนปฏิบัติการสำหรับการพัฒนาแนวนโยบายและการดำเนินการของรัฐเพื่อการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอสาระสำคัญของแผนปฏิบัติดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการจัดทำนโยบายและกฎหมายต่อไป
ชุดความรู้ "การใช้กฎหมายต่างประเทศมาบังคับแก่กรณีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481 ของไทย"
เข้าถึงเนื้อหาได้ที่ >> กฎหมายขัดกัน
การประชุมคณะกรรมการระบบสถิติอาเซียน ครั้งที่ ๙ (The Ninth Session of the ASEAN Community Statistical System Committee: ACSS9) จัดขึ้นโดยมีสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทยเป็นประธานการจัดประชุม จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๙ – ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย การประชุมดังกล่าวมีนางหทัยชนก ชินอุปราวัฒน์ ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นประธานร่วมกับนาย Pham Quang Vinh รองผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้หัวข้อที่สอดคล้องกับการเป็นประธานอาเซียนของประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ คือ ยกระดับความเป็นหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืน และเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางสถิติในระดับภูมิภาคและตอบสนองต่อความต้องการข้อมูลทางสถิติที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
ในส่วนของอาเซียนได้มีการจัดทำกรอบการดำเนินงานว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Framework On Personal Data Protection) อันเป็นการวางหลักการเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน นอกจากนี้ ได้จัดทำความตกลงอาเซียนด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ASEAN Agreement on Electronic Commerce) เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนในอาเซียน ดังนั้น กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศสมาชิกอาเซียน จึงมีความสำคัญต่อการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อการถ่ายโอนข้อมูลข้ามพรมแดนภายในภูมิภาค กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศสมาชิกอาเซียนจึงควรที่จะต้องสอดคล้องหรือมีมาตรฐานเดียวกัน และเพื่อเป็นการนำเสนอข้อมูลกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศสมาชิกอาเซียน บทความฉบับนี้จึงจะศึกษาเกี่ยวกับสาระสำคัญของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศมาเลเซีย เพื่อเป็นตัวอย่างข้อมูลกฎหมายในการเปรียบเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นต่อไป
สิทธิในความเป็นส่วนตัว (The Right to Privacy) เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สำคัญของมนุษย์ จึงได้มีการรับรองไว้ในตราสารระหว่างประเทศหลายฉบับ เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ข้อ ๑๒ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights) ข้อ ๑๗ เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการวางรากฐานด้านสิทธิมนุษยชนในระดับสากลและสร้างแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเคารพหลักสิทธิมนุษยชนให้กับนานาอารยประเทศ ซึ่งในระดับภูมิภาคอาเซียนก็ได้มีการจัดทำตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ได้แก่ ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Human Rights Declaration)โดยข้อ ๒๑ ได้บัญญัติคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวอยู่เช่นกัน ซึ่งสะท้อนถึงเจตนารมณ์ของอาเซียนในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทั้งยังเป็นการรักษามาตรฐานสิทธิมนุษยชนตามหลักสากลอีกด้วย
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอและวิเคราะห์ความสัมพันธ์และจุดยืนของอาเซียนและญี่ปุ่นท่ามกลางกระแสของการแข่งขันทางอำนาจระหว่างสหรัฐฯ และจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจของตัวแสดงทั้งสี่
บทความนี้เป็นการศึกษาความเป็นมาและสาระสำคัญของสถาบันอาเซียนเพื่อสันติภาพและความสมานฉันท์ (ASEAN Institute for Peace and Reconciliation: AIPR) ซึ่งเป็นองคภาวะหนึ่งของอาเซียนที่จะมีบทบาทสำคัญด้านสันติภาพและความสมานฉันท์ภายใต้กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)เนื่องจากเล็งเห็นว่าการที่จะสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนที่มีความเป็นเอกภาพ สงบสุข และมีความแข็งแกร่งได้นั้น นอกจากจะต้องอาศัยความร่วมมือจากประเทศสมาชิกอาเซียนผ่านมาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางบริหารแล้ว การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ซึ่งกันและกัน และการป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิกโดยสันติและปรองดองกัน ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญยิ่ง ที่จะทำให้อาเซียนบรรลุวัตถุประสงค์ของแผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-security Community Blueprint: APSC) ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
สรุปสาระสาคัญของรายงานเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์และสังคมมนุษย์ (Report on Artificial Intelligence and Human Society) จัดทำโดยคณะกรรมการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์และสังคมมนุษย์ (the Advisory Board on Artificial Intelligence and Human Society)
บทความนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ภายในประเทศสมาชิกอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยทำการศึกษาต่อเนื่องจากกรณีศึกษาการค้ามนุษย์ในประเทศสมาชิกอาเซียน พ.ศ. ๒๕๖๐ : ฟิลิปปินส์ กัมพูชา บรูไน สปป.ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย ซึ่งอยู่ระหว่างการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงานการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๖๐ (Trafficking in Persons Report June 2017) ที่จัดทำขึ้นโดยสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ โดยบทความนี้จะศึกษาปัญหาการค้ามนุษย์ในเมียนมาซึ่งเป็น ๑ ใน ๓ ประเทศสมาชิกอาเซียนที่ถูกจัดให้อยู่ใน Tier 2 Watch list ของการค้ามนุษย์ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐
บทความนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ภายในประเทศสมาชิกอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยทำการศึกษาต่อเนื่องจากกรณีศึกษาการค้ามนุษย์ในประเทศสมาชิกอาเซียน พ.ศ. ๒๕๖๐ : ฟิลิปปินส์ กัมพูชา บรูไน สปป.ลาว และเวียดนาม ซึ่งอยู่ระหว่างการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงานการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๖๐ (Trafficking in Persons Report June 2017) ที่จัดทำขึ้นโดยสหรัฐอเมริกา โดยบทความนี้จะศึกษาปัญหาการค้ามนุษย์ในมาเลเซียซึ่งเป็น ๑ ใน ๖ ประเทศสมาชิกอาเซียนที่ถูกจัดให้อยู่ใน Tier 2 ของการค้ามนุษย์ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐
การส่งเสริมเทคโนโลยีดิจิทัล และการบริหารจัดการด้านแรงงานและการประกันสังคม ของสาธารณรัฐเอสโตเนีย
สรุปผลการประชุมด้านการร่างกฎหมาย ณ สาธารณรัฐเอสโตเนีย ระหว่างวันที่ ๓๑ กรกฎาคม - ๔ สิงหาคม ๒๕๖๐
ข้อตกลงยอมรับร่วม หรือ MutualRecognitionArrangements: MRAs เป็นข้อตกลงที่เป็นการกำหนดเงื่อนไขของการยอมรับร่วมกันระหว่างคู่ภาค
บรรยายพิเศษ เรื่อง ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) โดย ผศ.ดร.จิรพล สังข์โพธิ์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและวิจัย และอาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บรรยายพิเศษ เรื่อง ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) โดย ผศ.ดร.จิรพล สังข์โพธิ์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและวิจัย และอาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เพื่อส่งเสริมและร่วมมือในเรื่องสันติภาพ ความมั่นคง เศรษฐกิจ องค์ความรู้ สังคมและวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันนั้น การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของประเทศสมาชิก แต่การจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการเป็นประชาคมอาเซียนที่มั่นคงยั่งยืนในทุกด้านได้นั้น จำต้องอาศัยปัจจัยนานัปการเป็นตัวขับเคลื่อน และการมีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ มั่นคง และมีความปลอดภัย ก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการขับเคลื่อนอาเซียน
โดยที่ประเด็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเป็นเรื่องที่อยู่ ภายใต้การดำเนินงานของประซาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และเป็นประเด็นที่ได้รับ การผลักดันทั้งในบริบทของอาเซียนและระดับสหประซาชาติ ซึ่งในปัจจุบัน การขยายตัว ทางเศรษฐกิจและการเติบโตของเมืองได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อสภาพแวดล้อม เกิดปัญหา ขยะ นํ้า และสารพิษ ตลอดจนผลกระทบต่อระบบนิเวศอันเนื่องมาจากปริมาณสารพิษที่เพิ่มมากขึ้น และปริมาณทรัพยากรธรรมชาติที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและสมดุล จึงเป็นประเด็นพื้นฐานที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ
สำหรับช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ประชาชนคนไทยคงได้ยินคำว่า “ACD” อยู่บ้างไม่มากก็น้อย สำหรับสัปดาห์นี้เราจึงจะนำประเด็น ACD ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โลกปัจจุบันและอนาคต เพื่อทำความเข้าใจและพร้อมรับมือกับการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไปข้างหน้าได้เป็นอย่างดี อีกทั้งผลกระทบที่มีต่อประชาคมอาเซียนอีกด้วย
การประชุมความร่วมมือเอเชียจัดขึ้นที่ประเทศไทยตั้งแต่วันที่ ๘ - ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยการประชุมมีขึ้นเป็นครั้งที่ ๒
ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน[1] เพื่อให้การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทยเป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพ โดยภารกิจที่สำคัญของคณะกรรมการศูนย์อำนวยการฯ คือ การกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทาง และท่าทีของไทยในการดำเนินความร่วมมือในกรอบอาเซียน รวมทั้งพิจารณาแก้ไข ปรับปรุง พัฒนากฎหมาย กฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายการต่างประเทศ ประธานคณะกรรมการศูนย์อำนวยการ
เตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ได้แต่งตั้งคณะทำงานด้านกฎหมายเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน[2] ให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำแผนและลำดับการเสนอกฎหมายเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมทั้งตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้อง และความซ้ำซ้อนในการเสนอกฎหมายเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
© 2016 Office of the Council of State.