BANNER

ศาลเกาหลีใต้ตัดสินให้ยึดสิทธิบัตรของบริษัท มิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสทรีส์ ของญี่ปุ่นในคดีแรงงานช่วงสงคราม


 ข่าวต่างประเทศ      24 Apr 2023

  



ศาลเกาหลีใต้เห็นชอบในการยึดสิทธิบัตรของบริษัทมิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสทรีส์ของญี่ปุ่น ซึ่งโจทก์ทั้งสี่เป็นอดีตคนงาน ๒ คนและครอบครัวของคนงานที่เสียชีวิตไปแล้ว ๒ คน ของเกาหลีใต้ โดยมีการยื่นฟ้องคดีเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๗ และ ๒๕๕๘ เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทมิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสทรีส์ ของญี่ปุ่นในคดีแรงงานในช่วงสงคราม โดยฝ่ายโจทก์กล่าวอ้างว่าพวกเขาถูกบังคับให้ทำงานให้แก่บริษัทในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒

สิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสี่มีมูลค่ารวมประมาณ ๖๙๐ ล้านวอน ซึ่งเทียบได้กับ ผลรวมของค่าสินไหมทดแทนแก่พวกเขา และดอกเบี้ยที่ค้างชำระ คำพิพากษาของศาลแขวงเมืองแทจ็อนได้สั่งห้ามบริษัทมิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสทรีส์ ในการขายสิทธิบัตรดังกล่าว  ปัจจุบันคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาเกาหลีใต้ ซึ่งคำพิพากษาในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ของศาลแขวงเมืองควังจูได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการยึดสิทธิบัตรของบริษัทมิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสทรีส์ ของญี่ปุ่น

ฝ่ายโจทก์ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลเกาหลีใต้ที่ประกาศข้อเสนอที่ให้มูลนิธิภายใต้การดูแลของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทยของเกาหลีใต้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่คนงานในนามของบริษัทญี่ปุ่นที่ถูกฟ้อง

ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ศาลเกาหลีใต้ขอให้บริษัทญี่ปุ่นจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการบังคับใช้แรงงานของญี่ปุ่นในช่วงสงคราม แต่รัฐบาลญี่ปุ่นปฏิเสธคำตัดสินของศาลเกาหลีใต้โดยอ้างว่าประเด็นพิพาทดังกล่าวได้รับการแก้ไขในสนธิสัญญาหลังสงครามที่ได้ลงนามทั้งสองประเทศในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศแล้ว

ข่าวประจำวันที่   ๕ - ๖ เมษายน ๒๕๖๖

เรียบเรียงจาก https://www.japantimes.co.jp/news/2023/04/05/national/wartime-labor-ruling/?fbclid=IwAR3EdnDzg6SpAxuCsRA4PdYQ83ue0xSB3rSf5hHeJ_BNUilif4hkxsQgSgQ
https://www.aa.com.tr/en/asia-pacific/south-korean-wartime-labor-victims-seize-4-patent-rights-of-mitsubishi/2865105
https://www3.nhk.or.jp/nhkworld/en/news/20230406_13/?fbclid=IwAR2rUdc1HP_i8F-WCPtMdynP-X93eNTFK3nQTfW4uhVpjp-DNjyPTCkuMpU
https://www3.nhk.or.jp/nhkworld/th/news/419803/?fbclid=IwAR1b2Sm6Ul6fveLGm3N3EiQrTPYro_RrVNHPlfJgV_SgLBCcRA-QGT6bhGY

*บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย

 

© 2016 Office of the Council of State.